บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เลย หนองบัวลำภู
คำสำคัญ:
บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา, ศตวรรษที่ 21, การจัดการเรียนรู้เชิงรุกบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน 2) ศึกษาระดับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในโรงเรียน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 กับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในโรงเรียน และ 4) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลยหนองบัวลำภู กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู จำนวน 324 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นในระดับ 0.78 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) การจัดการเรียนรู้เชิงรุก ในโรงเรียน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 กับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ในโรงเรียน มีความสัมพันธ์กันทางบวกอยู่ในระดับปานกลาง (rxy= 0.666) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลยหนองบัวลำภู โดยสามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ เป็น Y = -1.979 + 0.632(X4) + 0.471(X3) + 0.343(X1) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐานเป็น Z = 0.415(X4) + 0.216(X3) + 0.193(X1)
References
ทิศนา แขมมณี. (2561). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี ประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2559). การจัดการเรียนรู้แบบใหม่ในระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
วสิษฐ์พล รอบจังหวัด. (2566). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติงานของครูใน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 10(1), 89-102.
วิจารณ์ พานิช. (2560). การเรียนรู้เชิงรุกสำหรับศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสยามกัมมาจล.
วิจารณ์ พานิช. (2562). การศึกษาไทยในยุคดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสยามกัมมาจล.
สมหมาย อ่ำดอนกลอย. (2559). การบริหารการศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(2), 1-14.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู. (2566). ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2558). ภาวะผู้นำทางการศึกษา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ เชียงราย, 10(2), 1-15.
Bonwell, C. C., & Eison, J. A. (2019). Active learning: Creating excitement in the classroom. Jossey-Bass Publishers.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Michael, J., & Modell, H. I. (2020). Active learning in secondary and college science classrooms: A working model for helping the learner to learn. Cambridge University Press.
Prince, M. (2018). Does active learning work? A review of the research. Journal of Engineering Education, 93(3), 223-231.