การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาในยุคดิจิทัล: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง

ผู้แต่ง

  • พิมพ์อร สดเอี่ยม มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
  • บุญช่วย ศิริเกษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
  • ชิษณพงศ์ ศรจันทร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง

คำสำคัญ:

การประเมินหลักสูตร, การบริหารการศึกษา, ยุคดิจิทัล, หลักพุทธธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ตามรูปแบบการประเมิน CIPPI Model 2) ศึกษาความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค และ
4) เสนอแนวทางการพัฒนาหลักสูตร ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกตการสอน และการวิเคราะห์เอกสาร กลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหาร อาจารย์ นักศึกษาปัจจุบัน ศิษย์เก่า และผู้ใช้บัณฑิต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์แก่นสาระ

ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรมีความสอดคล้องกับบริบทและพันธกิจของมหาวิทยาลัย มีการบูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลและหลักพุทธธรรม ส่งผลให้บัณฑิตมีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพและสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อการพัฒนาการศึกษา 2) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 3) หลักสูตรมีจุดแข็งด้านการบูรณาการหลักพุทธธรรมและระบบการเรียนการสอนที่ยืดหยุ่น แต่ต้องพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลและทักษะบุคลากร 4) แนวทางการพัฒนาควรเน้นการปรับปรุงรายวิชาให้ทันสมัย พัฒนาทักษะผู้นำยุคดิจิทัล และเสริมสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานทางการศึกษา

References

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การพัฒนารูปแบบการประเมิน CIPPI Model.

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. (2567). หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการ บริหารการศึกษา.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 3).กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Koehler, M. J., & Mishra, P. (2006). Technological pedagogical content knowledge: A framework for teacher knowledge. Teachers College Record.

Scriven, M. (1967). The methodology of evaluation. In R. W. Tyler, R. M. Gagne, & M. Scriven (Eds.), Perspectives of curriculum evaluation.

Stufflebeam, D. L., & Coryn, C. L. S. (2014). Evaluation theory, models, and applications.

Tyler Ralph W (1949). Basic Principia of Curriculum and Instruction . Chicago : the University of Chicago press.

World Economic Forum. (2020). Shaping the Future of the New Economy and Society. [Online]. Retrieved May 24, 2020 from https://www.weforum.org/platforms/shaping-the-future-of-the-neweconomy-and-society

Yin, R. K. (2018). Case study research and applications: Design and methods.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30