การพัฒนาเพื่อความยั่งยืนยุค 4.0 ตามหลักพุทธธรรม

ผู้แต่ง

  • พนม เมฆพัฒน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ตาก
  • พระพินิจ ธีรภทฺโทพร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ตาก

คำสำคัญ:

การพัฒนาที่ความยั่งยืน, ยุค 4.0, หลักพุทธธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนในยุค 4.0 จะเห็นได้ว่าการพัฒนาความยั่งยืนในยุค 4.0 เป็นการพัฒนาที่เน้นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแว้ดล้อม อย่างไรก็ตาม ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่รวดเร็วเกินไปอาจนำไปสู่ปัญหาทางสังคม ความเหลื่อมล้ำ และมีผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการบูรณาการหลักพุทธธรรมจึงเป็นแนวทางความสำคัญที่สามารถช่วยสนับสนุนก่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน หลักธรรม เช่น พรหมวิหาร 4 และไตรสิกขา เป็นแนวทางในการสร้างจริยธรรม ความรับผิดชอบต่อสังคม การเคารพสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความสงบสุขและความพึงพอใจ

          การนำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้ในยุค 4.0 เน้นการสร้างความสมดุลทางเศรษฐกิจและสังคม การพัฒนาคุณภาพชีวิตขององค์กรและหน่วยงานสามารถใช้หลักพุทธธรรมมาช่วยในการกำหนดกลยุทธ์และการตัดสินใจเชิงจริยธรรม เพื่อให้การพัฒนาในยุค 4.0 เพื่อมุ่งเน้นความยั่งยืนของทรัพยากรและความสมดุลในชีวิต อันนำไปสู่สังคมที่มีความสุขมั่นคงและยั่งยืน

References

กมล ฉายาวัฒนะ. 2549. บริหารคนและงานตามหลักการของพระพุทธเจ้า. นนทบุรี: ชบา พับลิชชิ่งเวิร์กส.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2539). การพัฒนาที่ยั่งยืน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง.

วราภรณ์ เชื้ออินทร์. (2555) แนวคิดการจัดการการศึกษาหลังปริญญาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. ขอนแก่น: ภาควิชาสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วันชัย สุขตาม. 2555. การพัฒนาทุนมนุษย์วิถีพุทธ ในยุค โลกาภิวัฒน์. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

สุทธิดา ศิริบุญหลง. (2554). การพัฒนาแบบยั่งยืน : กระบวนการกระทำทางเศรษฐกิจสังคม (metabolism) และการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติเชิงสร้างสรรค์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30