รูปแบบกิจกรรมทางพลศึกษาเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ระดับปฐมวัยในสังคมยุคใหม่

ผู้แต่ง

  • ทยาวีร์ ช่างบรรจง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

แบบกิจกรรม, พัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบกิจกรรมทางพลศึกษาเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ ระดับปฐมวัยในสังคมยุคใหม่เพื่อพัฒนาการทางด้านร่างกายสำหรับเด็กปฐมวัยคือการเจริญเติบโตทางด้านต่าง ๆ ของร่างกายและการพัฒนาทักษะทางกายภาพ ให้มีความสามารถในการเคลื่อนไหว การรักษาความสมดุลของร่างกายและการ ควบคุมการทรงตัวได้ดีรวมถึงช่วยประสานสัมพันธ์ของร่างกายให้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างทะมัดทะแมง พัฒนาการด้านร่างกายของเด็กปฐมวัย (อายุ 3–6 ขวบ) เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การเลี้ยงดูในช่วงนี้จึงมี ผลต่อคุณภาพของการเจริญเติบโต ความแข็งแรงของร่างกาย การเคลื่อนไหวและทรงตัว หากครูและผู้ปกครองที่ดูแลเด็กมีความเข้าใจ เกี่ยวกับพัฒนาการการเลี้ยงดูและการประเมินพัฒนาการที่เหมาะสม เด็กจะสามารถพัฒนาความสามารถของตนได้อย่างเต็มที่และเต็มศักยภาพ การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาการด้าน ร่างกายสำหรับเด็กปฐมวัยจะช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ รวมถึงกระดูกและข้อต่อต่าง ๆ ให้มีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตสมวัยมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน (พัฒนาการด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา) อย่างสมบูรณ์

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). คู่มือการบริหารโรงเรียนในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล. กลุ่มวิจัยและพัฒนานโยบาย: สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

กัลยา ตันติผลาชีวะ. (2561). การแบ่งประเภทของภาวะปัญญาอ่อนตาม ICD-10. วารสารราชานุกุล.

ชัยณรงค์ เจริญพานิชย์. (2553). การสร้างสมรรถภาพทางกาย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นิรมัย อ่อนน้อม. (2559). สมรรถภาพทางกลไกของนักเรียนสาธิตมหาวิทยาลยศรันครินทรวิโรฒประสานมิตร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปรมพร ดอนไพรธรรม. (2560). การเรียนรู้ทักษะกลไกทางด้านร่างกาย พลศึกษาประถมศึกษาปีที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.พ. ถ่ายเอกสาร.

พรรณิดา ผุสดี. (2560). สมองกับการเรียนรู้. เอกสารประกอบการฝึกอบรมคุรุการศึกษาพิเศษ รนท 6. กรุงเทพมหานคร: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เยาวภา เดชะคุปต์. (2558). โภชนาการสาธารณสข. ถายเอกสาร.

วิภา ศรัทธาบุญ. (2559). การออกกำลังกายที่มีผลกระทบต่อระบบร่างกายสรีรวิทยาการออกกำลังกาย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศักดา ประจุศิลป และ สุกัญญาแสงมุข. (2560). ศิลปะและกายวิภาคศาสตร. กรุงเทพมหานคร: ป. สัมพันธ์พานิชย์.

สำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2561). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560–2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สุภัทรา จันทร์คำ. (2567). เรียบเรียงโดย นักจิตวิทยาเด็กและครูปฐมวัย Brain Kiddy. https://www.brainkiddy.com/article/216/หลักสูตรbrain-kiddy ค้นหาเมื่อ 5 พฤษจิกายน 2567

Sapporo & Elmer. (1967). Man and movement. 2 . Philadelphia: Lea and Fibiger.

Gesell V.R. (2002). The effects of rhythmic movement, tactile–stimulation program on the gross motor skills of children with learning disabilities. Master abstract international. 34(4): 1574

Woodill et.al., (1992). Gross motor development in preschool children considered to be at risk for academic failure. Dissertation.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30