คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีม ของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู
คำสำคัญ:
คุณลักษณะของผู้บริหาร, ศตวรรษที่ 21, การทำงานเป็นทีมของครูบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณลักษณผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 2) ศึกษาระดับการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 กับการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียน 4) ศึกษาคุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร และครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู จำนวน 324 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน และการวิเคราะห์สถิติถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) การทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียน มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) คุณลักษณะผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 กับการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียน มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียน ได้แก่ การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี (x4) การสร้างพลังเชิงบวก (x5) และการมีวิสัย (x1) ร่วมกันทำนายการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียน ได้ร้อยละ 44.50 และ สร้างสมการพยากรณ์คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู ในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ = 0.390(x4) + 0.265(x5) + 0.142(x1)
References
ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2561). ภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารองค์การ : แนวคิด ทฤษฎีและกรณีศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ปัญญาชน.
ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ. (2562). นโยบายการศึกษา. วิทยาจารย์ วารสารเพื่อการพัฒนาวิชาชีพครู, 118(10), 5.
นวนละออง สีดา. (2565). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 19(86), 8 – 22.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2561). การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภัทราพร เกษสังข์. (2549). การวิจัยทางการศึกษา. คณะครุศาสตร์. เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
มณฑาทิพย์ นามนุ. (2561). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
โยธิน นิลคช (2561). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2018”, 6 (4), 411 - 422.
สิทธิศักดิ์ เพ็ชรยิ้ม. (2563). การทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. ใน ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สุนันธิณีย์ ม่วงเนียม. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนจัดการเรียนรวม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษพิษณุโลก เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
อิงครัต จันทร์วงศ์. (2566). ปัจจัยการทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการกรมศุลกากร จังหวัดสงขลา. สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607 – 610.