การพัฒนาแพลตฟอร์มสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อการพึ่งพาตนเองแบบญี่ปุ่นในจังหวัดหนองคาย
คำสำคัญ:
แพลตฟอร์มสุขภาพ, การพึ่งพาตนเอง, ผู้สูงอายุ, ญี่ปุ่นบทคัดย่อ
ปัจจุบันประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ ซึ่งทำให้เกิดความท้าทายในการเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุในพื้นที่จังหวัดหนองคาย ซึ่งยังคงประสบปัญหาด้านการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพที่ครบถ้วนและการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแพลตฟอร์มสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เพื่อการพึ่งพาตนเองแบบญี่ปุ่น 2) นำแพลตฟอร์มสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ไปใช้งานในพื้นที่จังหวัดหนองคาย การวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงประยุกต์ร่วมกับการออกแบบและพัฒนาแพลตฟอร์ม เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงการเสริมสร้างสุขภาพได้ง่ายขึ้นและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นผู้สูงอายุในจังหวัดหนองคาย จำนวน 100 คน ซึ่งได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ เช่น ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเบื้องต้นและสุขภาพที่เหมาะสมในการเข้าร่วมโปรแกรม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก ซึ่งออกแบบมาเพื่อประเมินทั้งความพึงพอใจ ความเข้าใจในการใช้งานแพลตฟอร์ม และผลกระทบที่ผู้ใช้งานได้รับต่อสุขภาพโดยรวม
การประเมินผลแพลตฟอร์มนี้อ้างอิงจากโมเดลความสำเร็จของระบบสารสนเทศของ DeLone & McLean โดยพิจารณาถึง 6 ปัจจัยหลัก ได้แก่ คุณภาพระบบ คุณภาพสารสนเทศ คุณภาพการบริการ การใช้งานระบบ ความพึงพอใจของผู้ใช้ และการรับรู้ประโยชน์สุทธิ
การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา เช่น ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อแสดงผลลัพธ์เชิงปริมาณอย่างชัดเจน ขณะเดียวกันมีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
การสัมภาษณ์เชิงลึกและการวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อสะท้อนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้ใช้
ผลการวิจัยพบว่าแพลตฟอร์มที่พัฒนาขึ้นเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุแบบญี่ปุ่นได้รับการออกแบบให้เหมาะสมกับความต้องการของกลุ่มผู้สูงอายุ โดยเน้นความง่ายต่อการใช้งานและการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ผู้ใช้งานประเมินความพึงพอใจในระดับสูง โดยให้คะแนนเฉลี่ย 4.08 ในด้านความง่ายในการใช้งาน และ 4.27 ในด้านความชัดเจนของข้อมูลที่แสดงผล และการนำแพลตฟอร์มสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ไปใช้งานในพื้นที่จังหวัดหนองคาย ผลการประเมินแสดงให้เห็นว่าแพลตฟอร์มมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มความรู้ด้านสุขภาพและพัฒนาศักยภาพในการดูแลสุขภาพตนเอง ผู้ใช้งานให้คะแนนเฉลี่ย 4.30 ในด้านความคุ้มค่า และ 4.09 ในด้านความตั้งใจจะแนะนำแพลตฟอร์มให้ผู้อื่นใช้งาน นอกจากนี้ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากผู้ใช้งานยังระบุความต้องการในการปรับปรุงการลงทะเบียนและการออกแบบระบบให้เหมาะสมกับการใช้งานบนโทรศัพท์มือถือ เพื่อเพิ่มความสะดวกและตอบสนองต่อความต้องการของผู้สูงอายุได้ดียิ่งขึ้น
References
รศรินทร์ เกรย์ และคณะ. (2563). การสำรวจเชิงตรวจสอบร่วมกับภาคเอกชนเพื่อเผยแพร่เทคโนโลยีจากญี่ปุ่นในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยใช้ระบบการดูแลเชิงป้องกันแบบญี่ปุ่น. วารสารการส่งเสริมสุขภาพ, 21(1), 25-36.
รัชชดา สุขผึ้ง. (2566). ผลของโปรแกรมการเคลื่อนไหวเพื่อการพึ่งพาตนเองแบบญี่ปุ่นสำหรับผู้สูงอายุ เขตสุขภาพที่ 8. วารสารการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ, 17(2), 88-97.
วชิราภรณ์ สินเจริญเลิศ และ ปาริชาติ สาขามุละ. (2566). ประสิทธิผลของการใช้ SSM Program ในการพัฒนาเสริมสร้างกล้ามเนื้อ กลุ่มผู้สูงอายุ อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยสุขภาพ, 12(3), 45-53.
DeLone, W. H., & McLean, E. R. (2003). The DeLone and McLean model of information systems success: A ten-year update. Journal of Management Information Systems, 19(4), 9-30.
Carmeli, E., Sheklow, S., & Coleman, R. (2006). A comparative study of group exercise versus home exercise in elderly patients following hip surgery. Journal of Rehabilitation Medicine, 38(3), 170-176.
Kawamata, Y., Yamada, Y., & Kobayashi, M. (2012). Effectiveness of occupational therapy (MOHO) programs in promoting health among the elderly. Journal of Occupational Therapy, 19(2), 135-142.
Bossen, C., Jensen, L. G., & Udsen, F. W. (2013). Evaluation of electronic health records (EHR) using the DeLone & McLean model in hospitals. Health Informatics Journal, 19(2), 95-110.
Changizi, M., & Kaveh, M. H. (2017). Effectiveness of mHealth in modifying health behaviors in the elderly. Journal of Health Promotion, 35(1), 34-42.
Adebowale, O. (2017). Validation of the DeLone and McLean information systems success model in hospital information systems. Journal of Health Information Management, 25(3), 78-84.
Valenzuela, T., Okubo, Y., Woodbury, A., Lord, S. R., & Delbaere, K. (2018). Adherence to technology-based exercise programs in the elderly: A systematic review. Journal of Aging and Health, 30(3), 1-15.
Shim, M., & Jo, S. (2020). Quality factors influencing perceived benefits of health information websites using the DeLone & McLean model. International Journal of Health Information Systems, 15(4), 455-468.