ประสิทธิภาพการดำเนินงานชุมชนปลอดขยะ กรณีศึกษาเทศบาล ตำบลวังศาลา อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • ภันทิลา คณา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  • วรินดา ภูแพง มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  • จาตุรงค์ สุทาวัน มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพ, การดำเนินงาน, ชุมชนปลอดขยะ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบและวิธีการจัดการขยะมูลฝอย และ 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการดำเนินงานชุมชนปลอดขยะกรณีศึกษาเทศบาล          ตำบลวังศาลา อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือประชากรที่อาศัยอยู่หมู่ที่ 6  บ้านหัวพงษ์ จำนวน 286 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วนำเสนอโครงการโดยแจกแจงความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

  1. รูปแบบและวิธีการจัดการขยะมูลฝอย เป็นการจัดการขยะในปัจจุบันเน้นการเลือกวัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดขยะตั้งแต่ต้นทาง โดยใช้หลักการ 3Rs (Reduce, Reuse, Recycle) ควบคู่กับ 1A (Avoid) ซึ่งเป็นการหลีกเลี่ยงการใช้วัสดุที่ก่อให้เกิดขยะ ช่วยลดปริมาณขยะและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ผ่านการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ เช่น การทำปุ๋ย การแยกขยะ และการรีไซเคิล

 

  1. ประสิทธิภาพการดำเนินงานชุมชนปลอดขยะกรณีศึกษาเทศบาลตำบลวังศาลา อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ปัจจัยด้านการดำเนินงาน เทศบาลตำบลวังศาลา มีการวางแผนโครงการชุมชนปลอดขยะที่ชัดเจน มี = 4.49 และ S.D. = 0.79                         ปัจจัยด้านประสิทธิภาพของชุมชน มีการเข้าร่วมในกิจกรรมของโครงการชุมชนปลอดขยะ            มี  = 4.12 และ S.D. = 1.25 ปัจจัยด้านการจัดการขยะ ชุมชนมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยหลังจากการดำเนินโครงการชุมชนปลอดขยะ มี  = 4.40 และ S.D. = 0.87 ปัจจัยด้านการประชาสัมพันธ์ ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโครงการชุมชนปลอดขยะ มี = 4.31 และ S.D. = 1.00

References

กรมมลพิษ. (2565). รายงานสถานการณ์สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย. เรียกใช้เมื่อ 21 มิถุนายน 2567, จาก http:/dn.core website.com/public/dispatch_ upload/backend/core_dispatch_360892_1.pdf.

จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์. (2563). การแบ่งลักษณะความสัมพันธ์ของคนในชุมชน. ใน วิทยานิพนธ์. สาขารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์.กรุงเทพมหานคร.

ธมันพร ฉันทพรม. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรกรณีศึกษาสำนักพิกัดอัตราศุลกากร. จังหวัดกรุงเทพมหานคร. วารสารรามคำแหงฉบับรัฐประศาสนศาสตร์,1(2561/1) , 64-78.

วรรณวิไล แก้ววิไล. (2562). แนวทางการดำเนินงาน. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.วารสารบริหารธุรกิจ,32(1), 55-65.

นพดล โปธิตา. (2564). ประสิทธิภาพการจัดการขยะมูลฝอยด้วยเตาเผาขยะชุมชนขนาดเล็ก. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(8) , 507-509.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2567). สร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมนำขยะเหลือทิ้งสู่พลังงานเชื้อเพลิงทดแทน. เรียกใช้เมื่อ 23 มิถุนายน 2567, จาก https://www.tsu.ac.th/home/details.php?aNum=20240201075023&id=3259&gid=2.

สุปรีญา นุ่นเกลี้ยง. (2563). แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการจัดการขยะอันตรายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดยะลา. เรียกใช้เมื่อ 7 กรกฏาคม 2567, จาก https://wb.yru.ac.th/xmlui/bitstream/hangle/yru/5180/supreeaya63.pdf?sequence=1&isAllowed=y.

สุวิทย์ แก้วเหล็ก. (2560). องค์ประกอบชุมชนและลักษณะของชุมชน. เรียกใช้เมื่อ 2 กรกฎคม 2567, จาก http://oservicce.skru.ac.th/ebookft/427/Chapter%203.pgf.

อุ่นเรือน ศิรินาค. (2560). การจัดการขยะมูลฝอยติดเชื้อในโรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา. จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ, 4(2) , 40-51.

เทศบาลตำบลวังศาลา. (2567). เกี่ยวกับเทศบาลตำบลวังศาลาอำเภอท่าม่วงจังหวัดกาญจนบุรีเรียกใช้เมื่อ 2 กรกฎาคม 2567, จาก https://www.wangsala.go.th/about.

เยาวดี รางชัยกุลวิบูลย์ศรี. (2560). ความหมายของแนวคิดการดำเนินงาน. เรียกใช้เมื่อ กรกฎาคม 2567, จากhttp://research.otepc.go.th/files/8_% E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%202_sjqi9b38.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30