การบริหารสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางการเรียนรู้ ของนักเรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1
คำสำคัญ:
การบริหารสถานศึกษา, ความเข้มแข็งทางการเรียนรู้, การมีส่วนร่วมภาคีเครือข่ายบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางการเรียนรู้ของนักเรียน 2) วิธีปฏิบัติที่ดีในการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางการเรียนรู้
และ 3) แนวทางการบริหารสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางการเรียนรู้
ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 โดยศึกษา
กลุ่มตัวอย่างครู 306 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญจากสถานศึกษาในและนอกเขตพื้นที่การศึกษาจำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางการเรียนรู้ของนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับน้อย โดยมีการดำเนินงานที่โดดเด่นในด้านการสร้างทัศนคติเชิงบวก
ต่อการเรียนรู้ สุขภาวะที่ดี และการใช้เทคโนโลยี ด้านที่มีความเข้มแข็งน้อยสุดคือการเสริมพลังพัฒนาครู 2) วิธีปฏิบัติที่ดี ได้แก่ การบูรณาการกระบวนการเรียนรู้เชิงรุก การเสริมพลังพัฒนาครูผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสร้างกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อเสริมสร้างทัศนคติที่ดี
การสนับสนุนเทคโนโลยีคุณภาพ และการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายอย่างเป็นระบบ
และ 3) แนวทางการบริหารสถานศึกษา ที่สำคัญ ได้แก่ การวางแผนพัฒนาการเรียนรู้เชิงรุก
ที่เหมาะสม การพัฒนาครูด้วยวิสัยทัศน์ชัดเจน การสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ การใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน และการสร้างความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย
อย่างยั่งยืน
References
กัญญาณัฐ บุตรแสนโคตร. (2565). การพัฒนาความร่วมมือในชุมชนเพื่อส่งเสริมการศึกษา. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เจริญ ภูวิจิตร์. (2565). การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในยุค Next Normal. [เอกสารเผยแพร่]. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้.
ประทุมทอง ไตรรัตน์. (2566). การบริหารสถานศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาสติปัญญาและอารมณ์. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
วันนะเลด วละสุก. (2561). การเรียนรู้เชิงบูรณาการในบริบทชุมชน. Graduate Studies Journal, 15(68), 158–166.
สถาพร พฤฑฒิกุล. (2560). การเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 28(2), 1–14.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1. (2566). รายงานสถานภาพการจัดการศึกษาในเขตพื้นที่. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2565). มาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (RECOVER). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
Bush, T. (2003). Theories of educational leadership and management. Sage.
Evans, G. (2016). Understanding learning loss and educational inequality. Educational Review, 68(1), 1–12.
Fullan, M. (2007). The new meaning of educational change. Teachers College Press.
Griffin, P. (2011). Assessment for teaching. Cambridge University Press.
Hattie, J., & Timperley, H. (2007). The power of feedback. Review of Educational Research, 77(1), 81–112.
Hopkins, D., & Jackson, D. (2018). Leading school transformation. Routledge.
Hoy, W. K., & Miskel, C. G. (2001). Educational administration: Theory, research, and practice. McGraw-Hill.
Leithwood, K., Seashore Louis, K., Anderson, S., & Wahlstrom, K. (2004). How leadership influences student learning. Wallace Foundation.
Putnam, R. (2000). Bowling alone: The collapse and revival of American community. Simon & Schuster.
Rieckhoff, B. S. (2007). Teacher development in the digital era. Journal of Teacher Education, 58(3), 255–268.
UNESCO. (2023). Innovative approaches to learning recovery. UNESCO Publishing.
Vygotsky, L. S. (1978). Mind in society: The development of higher psychological processes. Harvard University Press.