แนวทางการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย
คำสำคัญ:
แนวทาง, การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน, ความต้องการจำเป็น, การประเมินแนวทางบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันสภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน 2) ออกแบบแนวทางการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน และ 3) ประเมินแนวทางการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย จำนวน 353 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างสัมภาษณ์ แบบประเมินแนวทาง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และความต้องการจำเป็น (PNI modified)
ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็นของการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ดังนี้ 1) ด้านการประชาสัมพันธ์ 2) ด้านการบริการชุมชน 3) ด้านการได้รับความสนับสนุนจากชุมชน 4) ด้านการมีส่วนร่วม
- แนวทางการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ประกอบด้วย 1) ด้านการประชาสัมพันธ์ 2) ด้านการมีส่วนร่วม 3) ด้านการบริการชุมชน 4) ด้านการได้รับความสนับสนุนจากชุมชน
- แนวทางการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านความเป็นไปได้ ด้านความเป็นประโยชน์ และด้านความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา.
กัญจนพร ศรีมงคล. (2565). การสร้างความสัมพันธ์ของโรงเรียนกับชุมชนที่ส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
กิติมา ปรีดีดิลก. (2545). การบริหารและการนิเทศการศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: อักษราพิพัฒน์.
ขวัญใจ ฟุ้มโอ. (2562). รูปแบบการบริหารงานเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2562). การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนและเครือข่ายการเรียนรู้ในท้องถิ่นของผู้นำทางการศึกษา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ธีระ รุญเจริญ. (2553). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ข้าวฟ้าง.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (ฉบับปรับปรุงใหม่). (พิมพ์ครั้งที่ 10).กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
พนิจดา วีระชาติ. (2552). การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน. ฉบับปรับปรุง.กรุงเทพมหานคร: โอเต็ยนสโตร์.
รัตนา กาญจนพันธ์. (2546). ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน เอกสารประกอบการสอน. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สมนึก พงษ์สกุล. (2556). ปัจจัยและรูปแบบยุทธวิธีการบริหารงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2548). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพมหานคร: ธรรมดาเพลส.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1. (2567). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567. หนองคาย: กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2. (25667. แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567. หนองคาย: กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2.
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดหนองคาย. (2567). ข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาจังหวัด หนองคาย ปีการศึกษา 2567. หนองคาย: สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดหนองคาย.
หวน พินธุพันธ์. (2548). การบริหารโรงเรียนต้านความสัมพันธ์กับชุมชน. กรุงเทพมหานคร: อักษรบัณฑิต.
อัษวนนท์ ชัยบิน. (2564). แนวทางพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดบึงกาฬ. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยนครพนม.
Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.