โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา

ผู้แต่ง

  • อธิวัฒน์ พันธ์รัตน์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระมหาไกรวรรณ์ ชินทตฺติโย (ปุนขันธ์) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา, โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM)

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบระดับการแสดงออกภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาและเปรียบเทียบระดับการแสดงออกของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา 3) ตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 4) ศึกษาน้ำหนักอิทธิพลทางตรง ทางอ้อม และอิทธิพลรวมของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง กลุ่มตัวอย่างคือผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 984 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ไคสแควร์ F-test t-test และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM)

          ผลการวิจัยพบว่า

1) ระดับการแสดงออกภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ (4.67) รองลงมา คือ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ (4.64) ด้านการกระตุ้นทางปัญญา (4.61) และด้านการคำนึงถึงปัจเจคบุคคล (4.59) ตามลำดับ

2) ผลการวิเคราะห์ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาที่มีเพศ อายุ ขนาดสถานศึกษา และประสบการณ์การเป็นผู้บริหารแตกต่างกัน
มีระดับการแสดงออกภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงไม่แตกต่างกัน 

3) โมเดลสมการโครงสร้างมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (P-value = 0.07, = 1.86, GFI = 1.00, AGFI = 0.97, CFI = 1.00, SRMR = 0.00 และค่า RMSEA = 0.02) 

4) ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลง ได้รับอิทธิพลรวมจากปัจจัยด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วมสูงสุด มีค่าอิทธิพลรวมเท่ากับ 0.58 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.23 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีอิทธิพลทางอ้อมเท่ากับ 0.34 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 รองลงมา คือ ปัจจัยด้านความเป็นผู้นำทางวิชาการ มีค่าอิทธิพลรวมเท่ากับ 0.53 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.48 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีอิทธิพลทางอ้อมเท่ากับ 0.04 อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และปัจจัยด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ มีค่าอิทธิพลรวมเท่ากับ 0.24 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยสัดส่วนความเชื่อถือได้ในตัวแปรภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงที่อธิบายได้ด้วยปัจจัยด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วม ด้านความเป็นผู้นำทางวิชาการ และด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ ได้ร้อยละ 89

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. 2552. การวิเคราะห์สถิติ : สถิติเพื่อการตัดสินใจ. (พิมพ์ครั้งที่ 4).กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กริช แรงสูงเนิน. (2554). การวิเคราะปัจจัยด้วย SPSS และ AMOS เพื่อการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ธนาภรณ์ ชานันโท. (2557). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ขต 21. ใน วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาสารคาม: มาหวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2549). โมเดลลิสเรล : สถิติวิเคราะห์สําหรับการวิจัย. (พิมพ์ครังที่ 3).กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เพ็ญพร ทองคำสุก. (2553). ตัวแบบสมการโครงสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแกน.

ลำดวน เอี่ยมอาจ. (2558). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดกำแพงเพชร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41. ใน การค้นคว้าอิสระค.ม. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ศศิธร รักษาชนม์. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30. ใน วิทยานิพนธ์. กศ.ม. มหาสารคาม:มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุพรรณิกา สุบรรณาจ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

สำนักบริหารการมัธยมศึกษา สพฐ. (2567). ระบบสารสนเทศด้านคุณภาพมัธยมศึกษา.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. (2561). แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับปรับปรุงตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร). กรุงเทพมหานคร.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566 - 2570). กรุงเทพฯ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาชาติ พ.ศ.2560-2579.กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟิค.

เสนาะ กลิ่นงาน. (2551). รูปแบบใหม่ของผู้นำในอนาคต : Leadership for the Future Management Science Journal, 1(1),7-13

Kouzes, J. M. & Posner, B. Z. (1993). The leadership challenge : How to get extraordinary things done in organizations. San Francisco: Jossey - Bass.

McEwan, E.K. (2003). 7 steps to effective instructional leadership. California: Corwin Press.

Yukl, G.A. (2010). Leadership in Organization. 7th Ed. NewJersey: Prentice - Hall.

Hersey, P. and Blanchard, H. B. (1988). Management of Organizational Behavior: Utilizing Human Resources. Englewood. Boston: PWS-Kent.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30