กระบวนการส่งเสริมความรู้ให้แก่ประชาชนในการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • กรวิชญ์ บุญมี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย
  • พระครูปลัดอธิษฐ์ สุวฑฺโฒ (สุขพานิช) คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การส่งเสริมความรู้ทางการเมือง, การเลือกตั้ง, การมีส่วนร่วมทางการเมือง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพทั่วไป ปัญหาและอุปสรรคของการส่งเสริมความรู้ให้แก่ประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดนครศรีธรรมราช 2) วิเคราะห์องค์ประกอบของการส่งเสริมความรู้ให้แก่ประชาชนในการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดนครศรีธรรมราช และ 3) นำเสนอรูปแบบของการส่งเสริมความรู้ทางการเมืองให้แก่ประชาชนในการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดนครศรีธรรมราช การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วย นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง สมาชิกพรรคการเมือง คณะกรรมการการเลือกตั้ง นักการเมืองท้องถิ่น และประชาชน รวม 28 คน และผู้เข้าร่วมเวทีเสวนากลุ่มอีก 10 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การจัดเวทีเสวนากลุ่ม และการวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า การส่งเสริมความรู้ทางการเมืองควรดำเนินการตามรูปแบบ BRIDGE Model ประกอบด้วย การเสริมสร้างศักยภาพผ่านการพัฒนาบุคลากรและสื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย การบูรณาการทรัพยากรจากทุกภาคส่วนเพื่อลดความซ้ำซ้อนและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการเผยแพร่ความรู้ผ่านช่องทางที่หลากหลาย การพัฒนาทักษะความรู้ด้านดิจิทัลเพื่อการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและการรู้เท่าทันสื่อ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมระดับรากหญ้าผ่านกิจกรรมชุมชนที่สอดคล้องกับบริบทท้องถิ่น และการประเมินและพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน โดยพบปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จ ได้แก่ การใช้สื่อดิจิทัลที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายโดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน การจัดกิจกรรมชุมชนที่ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างความตระหนักในความสำคัญของการเลือกตั้ง บทบาทของสถาบันการศึกษาในการปลูกฝังความรู้ทางการเมืองตั้งแต่ระดับพื้นฐาน และการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในการขับเคลื่อนการส่งเสริมความรู้อย่างเป็นระบบ รวมถึงการพัฒนาระบบการติดตามและประเมินผลที่มีประสิทธิภาพเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

 

References

กรณัฐ ระงับทุกข์. (2565). การพัฒนาความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่มีผลต่อการเลือกตั้งทั่วไปในกรุงเทพมหานคร. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ป ปริทรรศน์, 11(3), 55-65.

วัญฤดี มีนันท์. (2564). รูปแบบการศึกษาของไทยกับการส่งเสริมทางการเมืองเพื่อความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย. วารสาร สังคมศาสตร์และศาสตร์ร่วมสมัย, 2(2), 36-49.

คำนูณ สิทธิสมาน. (2548). ผู้จัดการ. เรียกใช้เมื่อ 14 กุมพาพันธ์ 2567 จาก https://mgronline.com.

ณฐมน หมวกฉิม. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตื่นตัวทางการเมืองของเยาวชนชาวไทย. วารสารรัชต์ภาคย์ (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 253-265.

ณฐมน หมวกฉิม, สุรพล สุยะพรหม, และ ยุทธนา ปราณีต. (2022). การตื่นตัวทางการเมืองของเยาวชนในระบอบประชาธิปไตย ที่มีผลต่อการเลือกตั้งทั่วไปของไทย. วารสารรัชต์ภาคย์, 16(44), 103-118.

ณัฐภน ลิมปิเจริญ. (2567). การมีส่วนร่วมทางการเมืองในการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามการรับรู้ของประชาชน. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 7(2), 54-69.

ธนชาภา จันทวารา, ประสิทธิ์ กุลบุญญา, และ ไพศาล พากเพียร. (2022). บทบาทพรรคการเมืองที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้มีสิทธิ์ เลือกตั้งในเขตเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ. วารสาร มจร. อุบล ปริทรรศน์, 317-334.

ธีรภัทร เสรรังสรรค์. (2561). การศกษาทางการเมองเพอสรางความเป็นพลเมองในระบอบประชาธิปไตย. วารสารสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 48(2), 1-27.

พระมหาสถิตย์ สุทฺธิมโน, สุรพล พรมกุล, และ ปรัชญา มีโนนทองมหาศาล. (2021). พฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในจังหวัดขอนแก่น เขตเลือกตั้งที่ 1. วารสาร มจร. อุบล ปริทรรศน์, 405-418.

รงค์ บุญสวยขวัญ. (2550). การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปี 2550 จังหวัดนครศรีธรรมราช. งานวิจัยของสำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า, 1-2.

วรรณธนพล หิรัญบูรณะ, และ นันทนา นันทวโรภาส. (2562). บทบาทและกระบวนการสื่อสารทางการเมือง ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ: ศึกษากรณีการละเมิดสิทธิการเมือง ในห้วงเวลาปี พ.ศ. 2552 – 2558. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(10), 4968-4986.

วีระศักดิ์ จินารัตน์. (2566). ความสัมพันธ์และอิทธิพลของอุดมการณ์ทางการเมือง ความรู้ทางการเมือง ความไว้วางใจทางการเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมือง ที่มีผลต่อการเลือกตั้งของเยาวชนในประเทศไทย. วารสารรัชต์ภาคย์, 17(50), 442-456.

สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์. (2557). ร่วมกันทำให้การเลือกตั้งเป็นกระบวนการแก้ไขความขัดแย้งอย่างสันติ. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ), 260.

สวัสดิ์ จิรัฏฐิติกาล. (2565). การส่งเสริมวัฒนธรรมการเมืองประชาธิปไตยของประชาชน. วารสาร นวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 4(2), 1-12.

สุมาลี บุญเรือง. (2565). สภาพทั่วไปและปัญหาอุปสรรคการตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนใน. วารสารวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 4(3), 61-74.

อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า. (2563). การสื่อสารทางการเมืองของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย ศึกษากรณี การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปี พ.ศ.2562. วารสารวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 2(2), 36-44.

อัมพกา ชมภู่, พระเทพปริยัติเมธี, และ สุกัญญา ณัฐอบสิณ. (2566). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในเขตเลือกตั้ง ที่ 1 จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจัยวิชาการ, 6(2), 323-334.

อุดม กองตองกาย. (2565). พฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชนในเขตจังหวัดอุบลราชธานี. วารสาร วิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 596-601.

เอกนรินทร์ ปิยะปัญญามงคล. (2564). แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเลือกตั้งของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(6), 347-355.

โอฬาร ถิ่นบางเดียว, และ รศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน. (4 กุมภาพันธ์ 2552). การซื้อสิทธิ์ขายเสียง. เรียกใช้เมื่อ 20 กรกฎาคม 2567 จาก http://wiki.kpi.ac.th

Boonlue, N, และ Dhebpanya, P. (2021). ความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 4(1), 167-203.

Boonyoung K, & Nunbhakdi E. (2023). ประชาชนกับการเลือกตั้ง:กรณีศึกษาพฤติกรรมผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปี พ.ศ.2562 ในจังหวัดชลบุรี. Political Science and Public Administration Journal, 147-172.

Chansin W., และ & Chatchorfa A. (2023). การพัฒนาการพัฒนาการส่งเสริมการปลูกฝังจิตสำนึกการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแก่เยาวชนจังหวัดลพบุรี. Journal of MCU Phetchaburi Review, 6(1), 231-245.

Saikuea C. (2022). พฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในอำเภอนบพิตำจังหวัด นครศรีธรรมราช. Journal of MCU Nakhondhat, 129-145.

Sukpranee, N. T. (2021). การส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองเชิงพุทธบูรณาการของประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา. Academic MCU Buriram Journal, 6(1), 1-15.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-28