การพัฒนาบอร์ดเกมการศึกษาตามแนวทางการคิดแก้ปัญหาร่วมกับการเรียนรู้ แบบเพื่อนคู่คิดเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาและเจตคติต่อการเรียน วิชาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
คำสำคัญ:
บอร์ดเกมการศึกษา, ทักษะการคิดแก้ปัญหา, เจตคติต่อการเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อพัฒนาบอร์ดเกมการศึกษาให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดแก้ปัญหาก่อนและหลังการใช้บอร์ดเกมการศึกษา 3) เพื่อเปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียน ก่อนและหลังใช้บอร์ดเกมการศึกษา 4) เพื่อศึกษาเจตคติที่มีต่อการเล่นบอร์ดเกมการศึกษา 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อบอร์ดเกมการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนชุมพลโพนพิสัย ภาคเรียนที่ 2/2566 จำนวน 30 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ 1) บอร์ดเกมการศึกษา 2) แบบประเมินคุณภาพบอร์ดเกมการศึกษา 3) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดแก้ปัญหา 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5) แบบวัดเจตคติต่อการเล่นบอร์ดเกมการศึกษา 6) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบอร์ดเกมการศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) และการทดสอบค่าที t – test (Dependent Samples)
ผลการศึกษาพบว่า 1) คุณภาพบอร์ดเกมการศึกษาด้านเนื้อหามีคุณภาพ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยด้านเนื้อหา 4.69 อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีมีคุณภาพโดยรวมมีค่าเฉลี่ย 4.64 อยู่ในระดับมากที่สุด และประสิทธิภาพของบอร์ดเกมการศึกษา เท่ากับ 89.28/88.00 2) ผลการพัฒนาความสามารถทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนที่เรียนโดยใช้บอร์ดเกมการศึกษาสูงกว่าก่อนเรียน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังใช้บอร์ดเกมการศึกษาสูงกว่าก่อนเรียน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ผลการวัดเจตคติที่มีต่อการเล่นบอร์ดเกมการศึกษา โดยรวมเฉลี่ยเท่ากับ 4.69 นักเรียนมีเจตคติต่อ การเล่นบอร์ดเกมการศึกษาระดับมากที่สุด และ 5 ผลการศึกษาความพึงพอใจต่อบอร์ดเกมการศึกษา นักเรียนมีความพึงพอใจเฉลี่ย 4.76 ระดับมากที่สุดทุกรายการ
References
กิ่งกาญจน์ บูรณสินวัฒนกูล. (2562). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้บอร์ดเกมการศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถการเรียนรู้ในรายวิชาพัฒนาการแบบเรียนภาษาไทยและความสุขในการเรียนรู้ สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
จุฑามาศ ผกากลีบ. (2561). การพัฒนารูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้โดยบูรณาการเทคนิคการสอนแบบเพื่อนคู่คิดในรายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม. 5(1). 204-214
นุชนาถ นุชมี. (2563).การพัฒนาบอร์ดเกมตามแนวการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบ เรื่อง อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างเป็นระบบ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. ใน วิทยานิพนธ์. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ปิยะพงษ์ งันลาโสม.(2563). การพัฒนาบอร์ดเกมเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้และเจตคติต่อการเรียนวรรณคดีไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ลักขณา สริวัฒน์. (2557). จิตวิทยาสำหรับครู. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
วรรณิภา พรหมหาราช. (2564). การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับบอร์ดเกม เรื่อง พันธะเคมี เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
ศดานันท์ แก้วศรี. (2563). การออกแบบและพัฒนาเกมกระดานเรื่อง ระบบภูมิคุ้มกัน. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ศิวนิต อรรถวุฒิกุล. (2555).การพัฒนากระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้อย่างร่วมมือตามแนวคิดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อสร้างพฤติกรรม การสร้าง ความรู้ของนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สนธิ พลชัยยา. (2557). สะเต็มศึกษากับการคิดขั้นสูง. นิตยสาร สสวท.42(189).8.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2560). ครูยุคใหม่กับการจัดการเรียนรู้สู่การศึกษา 4.0. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
Boom, Benjamin S. (1956). Taxonomy of Education Objective Handbook : Cognitive Domain. New York : David Mackey Company, Inc
Dewey, John. (1933). How We Thing. New York : D.C. Health and Company.
Poya, George. (1957). How to solve it. New Jersey : Princeton University Press.
Silverman, D. (2013). How to learn board game design and development. Massachusetts: McGraw - Hill.