ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปางเขต 2
คำสำคัญ:
องค์การแห่งการเรียนรู้, ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้
ของสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาระดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้
ของสถานศึกษา 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษากับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา และ 4) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ทางการศึกษาของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 จำนวน 265 คน ได้มาโดยการกำหนดขนาดกลุ่มตามตารางเครซี่และมอร์แกนจากนั้นสุ่มแบบแบ่งชั้น ตามสัดส่วนของผู้บริหารและครูแต่ละโรงเรียน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียรสัน และค่าถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัย พบว่า
1) ระดับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51) 2) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.47) 3) ผลการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรพยากรณ์ มีความสัมพันธ์ในทางบวกระดับปานกลางถึงสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง 0.551 – 0.818 4) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ถดถอยพหุคูณ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ปัจจัยด้านโครงสร้างขององค์กร
( =.262) ปัจจัยด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร ( =.254) ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์การ
( =.0.284) และปัจจัยด้านบรรยากาศการทำงาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ 0.879 มีอำนาจพยากรณ์ (R2) ร้อยละ 77.30 มีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน .251
References
กนกเนตร คำไพ. (2566). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
กฤติญา ศรีซังส้ม. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
กาญจนา ดาวเด่น. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. ใน การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธราช.
ณัฐกิตติมา วงศ์สุขสิน. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของ สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต. ชัยภูมิ: มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.
ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2556). การประยุกต์ SPSS วิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 6.) มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
นุชนาถ จันทร์บัว. (2564). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2. ใน การค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10), กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
รัตนะ บัวสนธ์. (2560). ปรัชญาวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิรัช สงวนวงศ์วาน.(2559). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. (พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพมหานคร: เพียร์สันเอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.
สถิรพร เชาวน์ชัย. (2561). เอกสารประกอบการสอน การวิจัยทางการบริหารการศึกษา. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สายฝน พิทักษ์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถาบันอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปางเขต 2. (2567). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 เรียกใช้เมื่อ 10 มิถุนายน 2567 จาก https://www.lpg2.go.th/wp-content/uploads/2024/06/แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ-พ.ศ.-2567-ฉบับทบ.pdf
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 – 2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน แถลงข่าว "ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี". เรียกใช้เมื่อ 28 พฤศจิกายน 2567, จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_news.php?nid=7118&filename=index.
สิทธิศักดิ์ เพ็ชรยิ้ม. (2563). การทํางานเป็นทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. ใน ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
อิงครัต จันทร์วงศ์. (2566). ปัจจัยการทํางานเป็นทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการกรมศุลกากร จังหวัดสงขลา. ใน สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตร์ มหาบัณฑิตสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York : Harper Collins Publishers,(pp.202-204).
Krejcie, Robert V., & Morgan, Daryle W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement,30(3), (pp. 607-610).