นวัตกรรมการจัดการทรัพยากรน้ำและสิ่งแวดล้อมพื้นที่ลุ่มน้ำสวยโดยการบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อหนุนเสริมการเกษตรแบบยั่งยืนสู่ระบบเศรษฐกิจฐานรากจังหวัดหนองคาย
คำสำคัญ:
นวัตกรรม, การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและสิ่งแวดล้อม, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, การเกษตรแบบยั่งยืน, เศรษฐกิจฐานรากบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการ ปัญหาและอุปสรรค ในการจัดการทรัพยากรน้ำและสิ่งแวดล้อมพื้นที่ลุ่มน้ำสวยโดยการบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อหนุนเสริมการเกษตรแบบยั่งยืนสู่ระบบเศรษฐกิจฐานรากจังหวัดหนองคาย 2) เพื่อวิเคราะห์ผลการดำเนินการจัดการทรัพยากรน้ำและสิ่งแวดล้อมพื้นที่ลุ่มน้ำสวยของจังหวัดหนองคาย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสนทนากลุ่มใหญ่/สัมภาษณ์กลุ่มกับผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้านและประชาชน ทั้ง 6 ตำบล จำนวน 900 คน การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 คน การประชุมผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 20 คน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 17 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท และตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูลโดยใช้เทคนิคสามเส้า แล้วนำเสนอเชิงพรรณนาความ
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการจัดการ ปัญหาและอุปสรรค ในการจัดการทรัพยากรน้ำและสิ่งแวดล้อมพื้นที่ลุ่มน้ำสวยโดยการบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อหนุนเสริมการเกษตรแบบยั่งยืนสู่ระบบเศรษฐกิจฐานรากจังหวัดหนองคาย (1) โดยทั่วไปชาวบ้านจะใช้วิธีการแบบเรียบง่ายโดยอาศัยสิ่งที่มีอยู่ในพื้นที่สืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษ โดยอาศัยแนวคิด วิธีการ ที่สอดคล้องกับพื้นที่ รวมถึงวัสดุอุปกรณ์ที่มีอยู่ในชุมชน อันเกิดจากความสามารถและประสบการณ์สืบต่อกันมาที่สอดคล้องกับประเพณี วัฒนธรรมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน เพื่อการจัดสรรน้ำและการใช้ประโยชน์จากลุ่มน้ำสวยในการหล่อเลี้ยงชีวิต ซึ่งในพื้นที่ลุ่มน้ำสวยเป็นพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรน้ำและสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ สิ่งมีชีวิต ที่หล่อเลี้ยงชาวบ้านมาอย่างยาวนาน (2) การใช้น้ำเพื่อการเกษตร ปัญหาภัยแล้ง ปัญหาน้ำท่วม ปัญหาการใช้เทคโนโลยีในการจับสัตว์น้ำ เป็นต้น ปัญหาต่างๆ เหล่านี้หน่วยงานภาครัฐพยายามเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหา
References
ชูศักดิ์ วิทยาภัค. (2538). หมู่บ้านกับศักยภาพในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ กรณีศึกษาการจัดการลุ่มน้ำชุมชนภายใต้ระบบกรรมสิทธิ์ร่วมในภาคเหนือ. เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการ เรื่อง องค์ความรู้เกี่ยวกับหมู่บ้าน. ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พรพิไล เลิศวิชา และ อรุณรัตน์วิเชียรเขียว. (2546). ชุมชนหมู่บ้านลุ่มน้ำขาน : โครงการวิจัยพลวัตเศรษฐกิจชุมชน 3 ลุ่มน้ำในประเทศไทย พ.ศ. 2543-2545. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
วีณา วาระกุล และ ดวงใจ พุทธวงศ์. (2558). การประเมินโครงการสร้างฝายชะลอน้ำขององค์การบริหารส่วนตำบลหัวฝายอำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 4 (2), : 92-93.
สมบัติ เสาร์แก้ว. (2536). บทบาทของคณะกรรมการหมู่บ้านในการบริหารและจัดการแหล่งน้ำขนาดเล็ก : ศึกษากรณีจังหวัดมหาสารคาม. ใน วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักข่าวไทย. (2561). น้ำโขงที่หนองคายหนุนลำน้ำสาขาระบายไม่ทัน. ระบบ. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2562 จากhttps://tna.mcot.net/view/5b6bd7cce3f8e40ad1f4bc40.
อภิชาต อนุกูลอำไพ. (2546). คู่มือการชลประทานระดับไร่นา. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาวิศวกรรมเกษตรและอาหาร สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย.