รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7
คำสำคัญ:
การบริหารแบบมีส่วนร่วม, ทักษะอาชีพ, นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและแนวทางการพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม 2) สร้างรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม และ 3) ประเมินรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 การวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 3 ระยะ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหาร รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารงานวิชาการ และครูผู้สอนกลุ่มทักษะอาชีพ โดยวิธีการลือกแบบเจาะจง จำนวน 120 คน และสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษา ที่มีการปฏิบัติที่ดี จำนวน 5 แห่ง ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 5 แห่ง ระยะที่ 2 การสนทนากลุ่ม สร้างรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 3 การประเมินรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยผู้ข้อมูลสำคัญ คือผู้บริหารโรงเรียนเฉพาะความพิการที่บกพร่องทางสติปัญญาในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จำนวน 15 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินที่สอบถามความเหมาะสมของรูปแบบ สถิติที่ใช้ ได้แก่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
- ผลการศึกษาสภาพและแนวทางการพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) องค์ประกอบที่ 1 ปัจจัยนำเข้า (Input) ประกอบด้วย 5 2) องค์ประกอบที่ 2 กระบวนการ (Process) ประกอบด้วย 4 และ 3)องค์ประกอบที่ 3 ผลผลิต (Outputs) ประกอบด้วย 4
- ผลการสร้างรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ปัจจัยนำเข้า (Input) ประกอบด้วย 5 ประเด็นย่อย องค์ประกอบที่ 2 กระบวนการ (Process) ประกอบด้วย 4 ประเด็นย่อย องค์ประกอบที่ 3 ผลผลิต (Outputs) ประกอบด้วย 4 ประเด็นย่อย และ องค์ประกอบที่ 4 เงื่อนไขความสำเร็จ ประกอบด้วย 2 ประเด็นย่อย
- ผลการประเมินรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 องค์ประกอบที่สำคัญ 4 องค์ประกอบ ซึ่งมีความถูกต้องของรูปแบบ ความเหมาะสมของรูปแบบ ความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งผลของการประเมินรูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
References
กุลยา ก่อสุวรรณ. (2553). การสอนเด็กที่มีความบกพร่องระดับเล็กน้อย. กรุงเทพมหานคร: สหมิตรพรินติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง.
ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, และวิบูลย์ โตวณะบุตร. (2542). หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
ศฤงคาร ใจปันทา. (2563). รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการมีงานทำ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2560). พลเมืองที่ตื่นรู้: ฐานรากที่แท้จริงของระบอบประชาธิปไตย. เรียกใช้เมื่อ 15 มกราคม 2563 จาก https://www.facebook.com/drsuvitpage/posts.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ครุสภาลาดพร้าว.
สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2551). การช่วยเหลือระยะแรกเริ่มเด็กพิการโดยผู้ปกครอง Early Intervention for Children with Disability by Parents and Communities. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
อัมพร พินะสา. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาโดยใช้ท้องถิ่นเป็นฐานของสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ใน ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
Bardo, J. W. & Hartman, J .J. (1982). Urban society : A systemic introduction. New York: peacock.