พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรีเขต 1
คำสำคัญ:
ความเป็นผู้นำ, พฤติกรรมความเป็นผู้นํา, ผู้ดูแลระบบบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต 1 2) เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรีเขต 1 3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู และ 4) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยสุ่มจากครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต 1 ปีการศึกษา 2567 โดยใช้ตารางการประมาณขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครซีและมอร์แกนจำนวน 302 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก
- แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3. พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารบริหารสถานศึกษาส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู และ4. สมการณ์พยากรณ์พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารบริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู เรียงตามลำดับประกอบด้วย พฤติกรรมแบบมุ่งสัมพันธ์ พฤติกรรมผู้นำแบบมุ่งผลผลิต และพฤติกรรมผู้นำพ่อแม่ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .293 สามารถร่วมกันพยากรณ์แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู ได้ร้อยละ .086 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสามารถสร้างสมการในการพยากรณ์หรือสมการถดถอย ได้ดังนี้
สมการพยากรณ์ ในรูปคะแนนดิบ คือ
= 3.066 + .259 - .210 + .104
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. เรียกใช้เมื่อ 15 พฤศจิกายน 2565. จาก http://www.moe.go.th/แผนการศึกษาชาติ-พ-ศ-2560.
กวี วงษ์พุฒ. (2550). ภาวะผู้นำ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: บีเคร อินเตอร์พริ้น.
กาญจนา คล่องแคล่ว. (2555). การพัฒนากลยุทธ์การสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลางในจังหวัดกำแพงเพชร. ใน วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). ชลบุรี : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
จันทรานี สงวนนาม. (2553). ทฎษฎีและแนวทางปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี : บุ๊ค พอยท์.
พรสวัสดิ์ ศิรศาตนันท์. (2555). ภาวะผู้นำทางการศึกษา. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2555). แนวคิด ทฤษฎี และประเด็นเพื่อการบริหารทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: ทิพยวิสุทธิ์.
ศักดิ์อนันท์ จันทร์ทอง. (2564). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. ใน การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง กศ.ม. มหาวิทยาลัยพะเยา.
สมคิด บางโม. (2555). องค์การและการจัดการ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์.
สมุทร ชำนาญ. (2556). ภาวะผู้นำทางการศึกษา ทฤษฎี และปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 2). ระยอง: พี.เอส.การพิมพ์.
สัมมนา รธนิธย์. (2553). ภาวะผู้นำของผู้บริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ข้าวฟ่าง.
สาธิต มณฑานี. (2559). พฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้บริหารสตรีในทัศนะของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดปทุมธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4. ในวิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาวิทยาลัยบูรพาชลบุรี.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. (2566). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566. จันทบุรี : กลุ่มบริหารบุคคล.
สุเมธ เดียวอิศเรศ. (2553). พฤติกรรมผู้นำทางการศึกษา. มหาลัยสารคาม: มหวิทยาลัยสารคาม.
อภิเษก วรรณไชย. (2559). การศึกษาพฤติกรรมผู้บริหารตามจรรยาบรรณของวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา ตามทัศนะของครูในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 7. ใน วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). นครราชสีมา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
อรทัย สุวรรณมณี. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดสตูล. ในการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 11. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.