บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่เน้น ผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • ยุพา ผึ้งถนอม มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • อุษาพร กลิ่นเกษร มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

คำสำคัญ:

บทบาทผู้บริหารสถานศึกษา, การส่งเสริมการจัดการเรียนการสอน, ผู้เรียนเป็นสำคัญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 2) เพื่อเปรียบเทียบบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และขนาดโรงเรียน 3) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี จํานวน 323 คน โดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว

ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และ 3) แนวทางการพัฒนาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สามารถจำแนกออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 2) ด้านการวัดและประเมินผล 3) ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และ 4) ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพมหานคร: กรมวิชาการ.

กัญญญารัตน์ สุมนะ. (2567). การบริหารจัดการสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา : กรณีศึกษาโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ โรงเรียนขนาดใหญ่ และโรงเรียนขนาดกลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพูน.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ปิยะวรรณ สายเพ็ชร. (2557). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนของครูในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

ปิยาภรณ์ พูลชัย. (2565). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามความคิดเห็นของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.

ภัทรนิชา สุดตาชาติ. (2560). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เมตตา ชาญฉลาด. (2558). ความพึงพอใจของครูต่อการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอสอยดาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต. (บริหารการศึกษา). ชลบุรี : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี. (2567). ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี. เรียกใช้เมื่อ 10 มิถุนายน 2567 จาก https://spmpt.go.th/history/

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). แนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยกับการเตรียม ความพร้อมสู่ศตวรรษที่ 21. เรียกใช้เมื่อ 15 มีนาคม 2567 จาก https://www.onec.go.th/index.php.

สุรีพร แก้วโพธิ์. (2561). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดนครนายก. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สุภาพร ศรีสุระ. (2557). บทบาทผู้บริหารในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

ฮำดัน สาอุ. (2565). การส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอสุคิริน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. หลักสูตรครุศาสตรามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา.

Best, John W. 1981. Research in Education. 3 rd ed. Englewood cliffs, New Jerser: Prentice. Hall Inc.

Cronbach, L.J. (1990). Essential of psychological testing. 5th ed. New York: Haper Collins.

Krejcie, R.V.,& Morgan, D.W. (1970). Determination sample size for research activities.

Education and Psychology Measurement, 30(3). pp. 607-610. Chile-centered Classroom. Thesis (Ph.D). Bloomington: Indiana University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-14