แนวทางการพัฒนางานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาดอยหลวง
คำสำคัญ:
การพัฒนางานวิชาการ, ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(PLC), กลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพงานวิชาการของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาดอยหลวง 2) เพื่อศึกษาแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนางานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(PLC) ของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาดอยหลวง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหาร และ ครูผู้สอนจำนวน 106 คนโดยใช้สูตรสำเร็จรูปของทาโร ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา
จากการวิจัยพบว่า 1)สภาพงานวิชาการของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาดอยหลวง โดยภาพรวมทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับมาก ( = 4.32,SD=0.45) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือด้านการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ 2) แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศการบริหารงานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ได้แนวปฏิบัติแบ่งตามงานวิชาการ 4 ด้านตามกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) 3) แนวทางการพัฒนางานวิชาการโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(PLC) ได้แนวทาง 4 ด้าน ด้านละ 6 กระบวนการ รวมทั้งหมด 24 แนวทาง สรุปพอสังเขปดังนี้ ด้านที่1 การพัฒนาหลักสูตร เน้นการสร้างวิสัยทัศน์และค่านิยมร่วม ใช้เทคโนโลยีเพื่อยกระดับการเรียนการสอน ด้านที่ 2 การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ เน้นวิสัยทัศน์ที่สอดคล้องกับเป้าหมายของผู้เรียน ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน ด้านที่ 3 การใช้สื่อเทคโนโลยี เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมและยกระดับการสอน ด้านที่ 4 การวัดผลและประเมินผล ใช้วิธีการประเมินที่หลากหลาย ครอบคลุมความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์
References
กมลวรรณ ทิพยเนตร. (2561). การพัฒนาครูในการสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน โดยใช้กระบวนการ สร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning community: PLC) ตามโครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมแลกเป้า สพฐ. ปีงบประมาณ 2561. ขอนแก่น: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). แผนปฏิบัติการดิจิทัลเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2563-2565. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
ชวลิต ชูกำแพง. (2564). ชุมชนแห่งการเรียนรู้สู่การวิจัยในชั้นเรียน. วารสารครุทรรศน์,1(1),53-63.
พิมพ์ใจ วรรณชาติ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนกรณีศึกษาสถานศึกษาขนาดกลาง. วารสารการศึกษาและการพัฒนา,13(2),75-88.
ยาวิระ หลังปูเต๊ะ. (2563).การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดการบริหารเชิงกลยุทธ์และชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองสองปาก. เรียกใชเมื่อ 28 มีนาคม 2567 จาก https://research.otepc.go.th/v_paper_journal_view.php?editid1=527
ลักษณ์ประภา สุวรรณสมบัติ. (2565). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพสถานศึกษาตามแบบชีวิตวิถีใหม่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. ใน ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
วิมล เดชะ. (2559). การบริหารงานวิชาการในโรงเรียนดีประจำตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล. ใน สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาวิชาการบริหารการศึกษา .มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ศิวพร ละหารเพชร. (2562). ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขนาดเล็กตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
สมชาย พิพัฒน์กิจไพศาล. (2563). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษายุคใหม่ แนวทางและตัวแบบการพัฒนา. วารสารการบริหารการศึกษา, 11(1), 45-60.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. (2567). รายงานผลการทดสอบระดับชาติ ปีการศึกษา 2566. เชียงราย: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3.