การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท
คำสำคัญ:
รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม, ผู้บริหารสถานศึกษา, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาทบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท และ 3) เพื่อประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงผสานวิธี ขั้นตอนดำเนินการวิจัยมีดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษา สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน สร้างรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษา ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษา โดยสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญจำนวน 10 คน ขั้นตอนที่ 3 การประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 30 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง
ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท มี 5 องค์ประกอบ 2) รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท มีความเหมาะสมทุกด้าน 3) ระดับความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
คณะกรรมการบริหารงานวิจัย. (2564). การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในโรงเรียนคุณภาพชุมชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3. นครศรีธรรมราช: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3.
จันทรานี สงวนนาม. (2553). การบริหารโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพ: แนวทางการพัฒนาบุคลากรโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์การศึกษา.
ประภัสสร บุญบำเรอ และคณะ. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการบริหารโรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ราม เรือนทองดี. (2564). รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์การศึกษา.
วิศาลาภรณ์, ศ. (2552). การบริหารแบบมีส่วนร่วมในโรงเรียนประถมศึกษา: แนวทางการพัฒนาองค์ประกอบการบริหาร. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์การศึกษา.
สมชัย จรรยาไพบูลย์. (2563). การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในโรงเรียนประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท. (2567). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท พ.ศ. 2566 – 2570. ชัยนาท: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579.กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2562). ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 65 และยุทธศาสตร์ชาติ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดชัยนาท. (2563). การจัดการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กในจังหวัดชัยนาท. ชัยนาท: สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดชัยนาท.
หนึ่งฤทัย เพ็งบุญ และคณะ. (2563). การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2. ชุมพร: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2.
Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1981). Participatory Management: An Approach to Organizational Development. New York: Longman.
Hoy, W. K., & Miskel, C. G. (2013). Educational Administration: Theory, Research, and Practice. New York: McGraw-Hill Education.