แนวทางการส่งเสริมสุขภาวะภายในโรงเรียนตามแนวคิดโรงเรียนสุขภาวะ อำเภอปะเหลียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1

ผู้แต่ง

  • ณัฐกานต์ โพชสาลี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • ทิพย์ ขำอยู่ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คำสำคัญ:

แนวทางการส่งเสริมสุขภาวะ, สุขภาวะภายในโรงเรียน, วงจรคุณภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการส่งเสริมสุขภาวะภายในโรงเรียน  อำเภอปะเหลียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมสุขภาวะภายในโรงเรียน  อำเภอปะเหลียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ ครูผู้รับผิดชอบงานส่งเสริมสุขภาวะภายในโรงเรียน ครูหัวหน้ากลุ่มการบริหารงานวิชาการ  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักวิชาการสาธารณสุข และผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม  แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม  และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน และวิเคราะห์ดัชนีความต้องการจำเป็น และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า  1) ความต้องการจำเป็นเร่งด่วนในการส่งเสริมสุขภาวะภายในโรงเรียน  อำเภอปะเหลียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 ได้แก่ ผู้เรียนเป็นสุข รองลงมา โรงเรียนเป็นสุข สภาพแวดล้อมเป็นสุข ครอบครัวเป็นสุข และชุมชนเป็นสุข ตามลำดับ และ 2) แนวทางการส่งเสริมสุขภาวะภายในโรงเรียน  อำเภอปะเหลียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 ด้านผู้เรียนเป็นสุขมี 6 แนวทาง ด้านโรงเรียนเป็นสุขมี 4 แนวทาง ด้านสภาพแวดล้อมเป็นสุขมี 2 แนวทาง ด้านครอบครัวเป็นสุขมี 4 แนวทาง และด้านชุมชนเป็นสุขมี 2 แนวทาง  ซึ่งผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการส่งเสริมสุขภาวะภายในโรงเรียน อำเภอปะเหลียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 โดยภาพรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

 

References

กัญยานี ปะริวันตา. (2565). รูปแบบโรงเรียนแห่งความสุขโรงเรียนกุดตาดำ (คงฤทธิ์คุรุราษฎร์สามัคคี) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

จันทร์เพ็ญ ลาภมากผล, พระมหาญาณวัฒน์ ฐิติวฑฒโน และพระมหาสมบัติ ธนปญโญ. (2566). การส่งเสริมโรงเรียนสุขภาวะในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปรากการ เขต 2. วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์, 2(1): 49-57.

ดวงดาว แช่มชื่น. (2560). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนสุขภาวะสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทรงพล เจริญคำ. (2563). หลักการและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โอ เอส พริ้นติ้งเฮาส์.

เทวีพันธ์ เยาวไสย. (2563). การพัฒนาแนวทางการบริหารส่งเสริมสุขภาวะภายในโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดกาฬสินธุ์. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยสารคาม.

ทรงธรรม พลับพลา และสุบิน ยุระรัช. (2564). กลยุทธ์การบริหารกิจกรรมพัฒนาสุขภาวะของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(9): 238-251.

ทรงยศ สาโรจน์. (2565). การส่งเสริมโรงเรียนสุขภาวะในโรงเรียนขนาดเล็กด้วยกระบวนการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารสังคมพัฒนศาสตร์, 5(1): 44-57.

ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์. (2558). พื้นฐานและหลักการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: มีน เซอร์วิส ซัพพลาย.

ปัทมา พุทธแสน. (2565). การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาโดยบูรณาการการจัดการศึกษาโรงเรียนสุขภาวะ โรงเรียนแหลมทองผดุงวิทย์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 41(6): 90-108.

ไพฑูรย์ พวงยอด. (2565). การพัฒนาโรงเรียนสุขภาวะกรณีศึกษาโรงเรียนบ้านโนนสังข์ศรี สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มุกดาหาร. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษย วิทยาเชิงพุทธ, 7(12): 643-651.

มูลนิธิสถาบันวิจัยระบบการศึกษา. (2560). เครื่องมือพัฒนาสู่ความเป็นโรงเรียนสุขภาวะ. มหาสารคาม: สถาบันวิจัยระบบการศึกษา.

มิญช์มนัส วรรณมหินทร์ สลางสิงห์. (2564). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาโรงเรียนสุขภาวะ ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

รุจิรา ฉายลออ. (2565). แนวทางการบริหารโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนสุขภาวะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2566). แนวคิด ทฤษฎี และประเด็นเพื่อการบริหารทางการศึกษา (ปรับปรุงครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: ทิพยวิสุทธิ์.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2560). โรงเรียนสุขภาวะการศึกษาแบบนวัตกรรมยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร: กองทุนสนับสนุนการเสริมเสริมสุขภาพ.

สมศักดิ์ โทจำปา. (2565). อนามัยโรงเรียน School Health. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวทางการพัฒนา การวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุพจนีย พัดจาด. (2566). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนสุขภาวะของสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดตาก. Educational Management and Innovation Journal, 2(1): 67-89.

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W., (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30: 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-14