แนวทางการพัฒนา การเป็นนวัตกรทางการศึกษา สำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย

ผู้แต่ง

  • วิทวุฒิ เถาว์ทวี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • คณิศร จี้กระโทก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • นวัตกร หอมสิน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • ธีระพล เพ็งจันทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

คำสำคัญ:

นวัตกร, นวัตกรรม, การพัฒนา การเป็นนวัตกรทางการศึกษา สำหรับครู สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของแนวทางการพัฒนาการเป็นนวัตกร ทางการศึกษา สำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย 2) หาแนวทางการพัฒนาการเป็นนวัตกร ทางการศึกษา สำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของแนวทางการพัฒนาการเป็นนวัตกร ทางการศึกษา สำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 19 คน และข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 266 คน  รวมทั้งสิ้น จำนวน 285 คน ซึ่งใช้การเทียบตารางสำเร็จรูปของ เครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98  ระยะที่ 2 ใช้วิธีการการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ โดยการเลือกแบบเจาะจง ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 12 คน ซึ่งประกอบด้วย 4 ด้านจำนวน 40 แนวทาง ดังนี้ ด้านทักษะสร้างสรรค์ มีจำนวน 10 แนวทาง ด้านทักษะการเรียนรู้และแก้ไข มีจำนวน 10 แนวทาง ด้านความรู้ด้านเนื้อหาและทักษะการปฏิบัติ มีจำนวน 10 แนวทาง ด้านการสังเกต มีจำนวน 10 แนวทาง

            ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับมากและสภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าความต้องการจำเป็นโดยรวมอยู่ระหว่าง 0.029 – 0.044 2) แนวทางการพัฒนาการเป็นนวัตกร ทางการศึกษา สำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย คือ ทักษะสร้างสรรค์ ทักษะการเรียนรู้และแก้ไข ความรู้ด้านเนื้อหาและทักษะการปฏิบัติและการสังเกต

References

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม. (2560). การจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับแนวทาง ขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยนวัตกรรม. เรียกใช้เมื่อ 12 ธันวาคม 2561 จาก https://old.kmi.or.th/index.php/.

สมชาย วรกิจเกษมสกุล. (2554). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ และสังคมศาสตร์. อุดรธานี: อักษรศิลป์การพิมพ์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561. (พิมพ์ครั้งที่ 1) กรุงเทพมหานคร: กลุ่มมาตรฐานการศึกษาสำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

Dyer, J., Gregersen, H., & Christensen, C. (2011). The Innovator's DNA; Mastering the of Disruptive Innovators. Brighton: Harvard Business School Press.

Hero, L., Lindfors, E., & Taatila, V. (2017). Individual innovation competence: A systematic review and future research agenda. International Journal of Innovation and Learning, 21(3), 285-307.

Kieu, P. (2017). 8 Skills make a successful innovator. https://sociable.co/business/innovation-8-skills.

Porcini, M. (2015). The 8 qualities of the Innovator and the 7 characteristics of the Design Thinker. Retrieved September 2, 2023, from www.linkedin.com/ pulse/8-qualities-innovator-7-characteristics-design-thinker-mauro-porcini.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-14