แนวทางการพัฒนาโรงเรียนในฐานะชุมชนแห่งการเรียนรู้ ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี
คำสำคัญ:
แนวทางการพัฒนา, โรงเรียนในฐานะชุมชนแห่งการเรียนรู้, โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็น และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาโรงเรียนในฐานะชุมชนแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึ่งประสงค์ กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา ครู คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองหรือชุมชน จำนวน 264 คน โดยได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 ระยะที่ 2 หาแนวทาง โดยการเลือกแบบเจาะจง กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 12 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยกระบวนการหาฉันทามติแบบพหุลักษณ์ ผลการวิจัยพบว่า
1) สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าความต้องการจำเป็นโดยรวมอยู่ระหว่าง 0.663 – 0.711 และ 2) แนวทางการพัฒนาโรงเรียนในฐานะชุมชนแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี คือ (1) วิสัยทัศน์ คือ นักเรียนได้เรียนรู้ร่วมกัน ครูเรียนรู้ร่วมกันเพื่อพัฒนาวิชาชีพตน ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมให้ความร่วมมือกันปฏิรูปโรงเรียน (2) ปรัชญา คือ ปรัชญาว่าด้วยความเป็นสาธารณะ ปรัชญาว่าด้วยประชาธิปไตย ปรัชญาว่าด้วยความเสมอภาค ปรัชญาว่าด้วยความเป็นเลิศ และ (3) ระบบกิจกรรม คือ การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมพลังในห้องเรียน การสร้างความเป็นเพื่อนร่วมงานในห้องพักครู การเข้าร่วมเรียนรู้ของผู้ปกครองและชุมชนท้องถิ่น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
ซาโต มานาบุ. (2559). การปฏิรูปโรงเรียน แนวความคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้กับการนำทฤษฎีมาปฏิบัติจริง เล่มที่ 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 10) . กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ผดุงชัย ภู่พัฒน์. (2547). เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่อง การประชุมอภิปรายแบบ MACR. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. กรุงเทพมหานคร: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
มาซาอากิ ซาโตและเอสุเกะ ไซโต. (2560). เรียนรู้จากข้อเท็จจริงของเด็กและห้องเรียน การปฏิรูปโรงเรียนด้วยชุมชนแห่งการเรียนรู้และการไตร่ตรอง. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1. (2567). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2567. เรียกใช้เมื่อ 13 สิงหาคม 2567. https://udn1.go.th/archives/6965
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2. (2567). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2567. เรียกใช้เมื่อ 13 สิงหาคม 2567. https://shorturl.asia/oCJZ7
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. (2567). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2567. เรียกใช้เมื่อ 13 สิงหาคม 2567. https://shorturl.asia/Y8biq
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. (2567). ระบบบริการข้อมูลกลางภาครัฐ Big DATA. เรียกใช้เมื่อ 13 สิงหาคม 2567. https://bigdata.udon4.go.th/.
อนงค์กาญจน์ ศรีจันทร์. (2563). แนวทางพัฒนาการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ตามแนวคิดโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Boyd, V. (1992). School Context: Bridge or Barrier for Change? Austin: Southwest Educational Development Lab.
Cronbach, L.J. (1951). Coefficient Alpha and the Internal Structure of Tests. Psychometrika, 16, 297 - 334.
Kruse, S. D., & Louis, K.S. (1993). An emerging framework for analyzing school-based professional community. Retrieved from: https://eric.ed.gov/?id=ED358537
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3): 607-610.
Schon, D. A. (1991). The reflective practitioner. Ashgate Publishing.
Sergiovanni, T. J. (1992). Moral Leadership: Getting to the Heart of School Improvement. San Francisco, CA: Jossey Bass.