ความสัมพันธ์ของการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1
-
คำสำคัญ:
การบริหารแบบมีส่วนร่วม, การทำงานเป็นทีมของครู, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้วเขต 1บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 2) เพื่อศึกษาการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 จำนวน 302 คน โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ตามขนาดสถานศึกษา และทำการสุ่มอย่างง่ายจากโรงเรียนแต่ละขนาด ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัย พบว่า 1.การบริหารแบบมีส่วนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄= 3.87,S.D. =0.50) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ตามลำดับ ดังนี้ 1) ด้านความมีอิสระในการปฏิบัติงาน (x̄ = 3.89, S.D. = 0.53) 2) ด้านการกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของงาน (x̄ = 3.88, S.D. =0.55) 3) ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมิน (x̄ = 3.88,S.D. = 0.55) 4) ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (x̄ = 3.88, S.D. = 0.57) 5) ด้านความยึดมั่นผูกพัน (x̄ = 3.85, S.D. = 0.58) และ 6) ด้านการไว้วางใจ (x̄ = 3.84, S.D. = 0.58) 2.การทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.91, S.D. = 0.54) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ตามลำดับ ดังนี้1) ด้านวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนและเป้าหมายที่เห็นพ้องต้องกัน (x̄ = 4.00, S.D. = 0.56) 2) ด้านการปฏิบัติงานที่ชัดเจน (x̄ = 3.93, S.D. = 0.59) 3)ด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ (x̄ = 3.93, S.D. = 0.60) 4) ด้านการตัดสินใจร่วมกัน (x̄ = 3.92, S.D. = 0.58) 5) ด้านการติดต่อสื่อสาร (x̄ = 3.89, S.D. = 0.59) และ 6) ด้านความไว้วางใจกัน (x̄ = 3.80, S.D. = 0.63) 3.ความสัมพันธ์ของการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 โดยรวมพบว่ามีความสัมพันธ์ในระดับสูงและเป็นไปในทิศทางบวก (r= 0.84) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
กมลชนก ศรีวรรณา. (2561). การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏ.
กัญวัญญ์ ธารีบุญ. (2557). การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย. ใน รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
โกศล เย็นสุขใจชน. (2565). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10. ใน รายงานวิจัย.มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ชุดาพร นพเก้า. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาสหวิทยาเขต 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3. ใน รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธิญาดา ภัคธนาภิญโญ. (2565, กรกฎาคม-กันยายน). การบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา. วารสารนวัตกรรมการบริหารการศึกษา, 1(1), 8-9.
บุญชม ศรีสะอาด. (2535). หลักการวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครังที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2553). เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่7). กรุงเทพมหานคร: ศรีอนันต์การพิมพ์.
ไพฑูรย์ กลมกูล. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับการทำงานเป็นทีมของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4. ใน รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
วิบูลอร นิลพิบูลย์. (2563). การบริหารแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต1. ใน รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต1. (2567). แผนพัฒนาการศึกษา (ฉบับที่6) ปีงบประมาณ พ.ศ.2566-2570 (ปรับปรุงครั้งที่ 2 ปีงบประมาณ 2567). สระแก้ว.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาชาติ (พ.ศ.2560–2579). กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิก จำกัด.
อนุวัฒน์ ทัศบุตร. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพในสถานศึกษา สังกัด
สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York : Harper Collins Publishers.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement.