การพัฒนาความสามารถในการจำพยัญชนะไทย ก-ฮ ผ่านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอน EdTech ของนักเรียน Early Years 4
คำสำคัญ:
ชุดการสอน EdTech, ความสามารถในการจำพยัญชนะไทย, นักเรียน Early Years 4บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดการสอน EdTech 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาความสามารถในการจำพยัญชนะไทยผ่านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอน EdTech 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการจำพยัญชนะไทยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอน EdTech และ 4) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการจำพยัญชนะไทยหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอน EdTech กับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน Early Years 4 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนนานาชาติแห่งหนึ่งในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ มีนักเรียนจำนวน 14 คน โดยใช้แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอน EdTech และแบบทดสอบความสามารถในการจำพยัญชนะไทย สถิติที่ใช้ประกอบไปด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติแบบไม่อิงพารามิเตอร์
ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของชุดการสอน EdTech มีค่า E1/E2 = 76.13/76.30 2) ผลศึกษาการพัฒนาความสามารถในการจำพยัญชนะไทยผ่านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอน EdTech ส่งผลให้ความสามารถในการจำพัฒนาขึ้นอย่างมีนัยสำคัญโดยมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานลดลง 3) ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการจำพยัญชนะไทยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอน EdTech แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) การเปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการจำพยัญชนะไทยหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอน EdTech กับเกณฑ์ร้อยละ 70 พบว่า มีนักเรียนผ่านเกณฑ์ 12 คน คิดเป็นร้อยละ 85.71 และมีนักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ 2 คน คิดเป็นร้อยละ 14.29
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กุลวรา ชูพงศ์ไพโรจน์. (2562). นิทานผสานอักษร: นวัตกรรมเพื่อความพร้อมทางการศึกษาของเด็กวัยเริ่มเรียน. เรียกใช้เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2567. จาก https:/youtu.be/oXMBpram
พจ ธรรมพีร. (2565, 5 พฤษภาคม). ความทรงจำคืออะไร. กรุงเทพมหานคร: คณะจิตวิทยาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรรณา วัฒนา. (2561). ผลของการใช้เกมการศึกษาต่อการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาไทยในนักเรียนประถมศึกษา. วารสารการศึกษาปฐมวัย. 8(2). 112-129.
วรรณพร สุขสวัสดิ์. (2564). การใช้สื่อดิจิทัลในการส่งเสริมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์. วารสารเทคโนโลยีและการศึกษา. 15(2). 25-40.
วิรัช วงศ์ภินันท์วัฒนา. (2564). ภาษากับการสื่อสารมวลชน. ขอนแก่น: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศุภัชญา ศุภเมธากร. (2564). การพัฒนาความสามารถในการจำและความคงทนในการจำพยัญชนะไทยโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยจินตภาพกับการเล่าเรื่องสำหรับนักเรียนระดับปฐมวัย. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
อุษณีย์ บัวสมบัติ. (2563). การใช้แท็บเล็ตในการเรียนการสอนปฐมวัย. วารสารการศึกษาปฐมวัย. 12(1): 45-60.
Bruner, J. S. (1966). Toward a theory of instruction. (1st ed.). Massachusetts: Harvard University Press.
Brown, A. & Wilson, J. (2023). Educational innovation through technology. International Journal of Educational Research. 116: 102089.
Januszewski, A. & Molenda, M. (Eds.). (2008). Educational Technology: A Definition with Commentary. New York: Routledge.
Khalid et al., (2024). Significance Of Mother Tongue On Second Language Acquisition: The Case Of English Learning. International. Journal of Contemporary Issues in Social Sciences. 3(2): 54-59.
Smith, J. & Roberts, K. (2023). Digital technologies and educational change. Educational Technology Research and Development. 71(2): 235-256.
Waree, C. (2018). Application Development on Tablet to Promote a Classroom Research Skills for SSRU’ Students. In: Chang, M., et al. Challenges and Solutions in Smart Learning. Lecture Notes in Educational Technology. Springer, Singapore. https://doi.org/10.1007/978-981-10-8743-1_4