การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอนร่วมกับการสอนอ่านแบบ PWIM เพื่อพัฒนาทักษะด้านการอ่านและการเขียนสะกดคำในมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐณิชา หทัยพัฒน์โภคิน มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ลำไย สีหามาตย์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

รูปแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน,, การสอนอ่านแบบ PWIM,, การอ่านและเขียนสะกดคำ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน ร่วมกับการสอนอ่านแบบ PWIM มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านและเขียนสะกดคำในมาตราตัวสะกด ก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) เพื่อศึกษาระดับทักษะด้านการอ่านและการเขียนสะกดคำในมาตราตัวสะกด หลังจากที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอนร่วมกับการสอนอ่านแบบ PWIM กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสกาดพัฒนา อำเภอปัว จังหวัดน่าน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 17 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำ เรื่อง มาตราตัวสะกด ชนิดปรนัย จำนวน 30 ข้อ และ 3) แบบประเมินแบบฝึก การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ และการทดสอบค่าที (t-test dependent)

                ผลการวิจัย พบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน ร่วมกับการสอนอ่านแบบ PWIM มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 90.24/83.53 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้ 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านและเขียนสะกดคำในมาตราตัวสะกด โดยใช้กิจกรรมการจัดการเรียนรู้รูปแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอนร่วมกับการสอนอ่านแบบ PWIM พบว่า หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผลการประเมินระดับทักษะด้านการอ่านและการเขียนสะกดคำในมาตราตัวสะกดของนักเรียนหลังเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับดี

References

กนกพร จันทะกล. (2564). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการอ่านและการเขียนจากภาพ. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษา มหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

จักรพันธ กิตตินรรัตน์ และอรณัฎฐ์ อชีรญาวัฒน์. (2567). การสุ่มตัวอย่างในงานวิจัย: หลักการ วิธีการ และการประยุกต์ใช้. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการศึกษา. 2 (1), 39-55.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5(1), 7-20.

ณฐภัทร อธิชาติ. (2566, กรกฏาคม, 7). การแปรียบเทียบความสามารถด้านการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบ Picture Word Inductive Model (PWIM) กับวิธีการสอนแบบปกติ. The 13th National and the 9th International PIM Conference 2023 Business and Education Reform in the Multipolar World. ใน การประชุมวิชาการ. สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ นนทบุรี.

ณัฐวุฒิ ศรีระษา. (2564). การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.

นรรัชต์ ฝันเชียร. (2563). ทฤษฎีพหุปัญญาสู่การเข้าถึงอัจฉริยภาพของนักเรียนทุกคน. เรียกใช้เมื่อ 12กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://www.trueplookpanya.com/blog/content/78233/-blog-teaartedu-teaart-.

บุญญฉัตร สังกัดกลาง. (2565). การพัฒนาความสามารถในการเขียนสะกดคำของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้เทคนิคเกมมิฟิเคชัน ร่วมกับการใช้วรรณกรรมเป็นฐาน. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พัชรา พลเยี่ยม และจิตราภรณ์ วงศ์คำจันทร์. (2566). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามระดับสูงเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 17 (3), 281-291.

วัทนพร บุญชู. (2566). การพัฒนาบอร์ดเกมการศึกษา เรื่อง นักสืบสะกดคำ เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านและการเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธา (โครงการ Innovation For Thai Education (IFTE) การพัฒนานวัตกรรมการศึกษา เพื่อพัฒนาการศึกษาจังหวัดเพชรบุรี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566). ใน รายงานการวิจัย. โรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). รายงานผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2565 ฉบับที่ 1 แบบสรุปรายงานผลการประเมินของประเทศ (Country01). เรียกใช้เมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://kroodee.com/wp-content/uploads/2024/04/NT01_CTY_2565.pdf

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตร ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุพัตรา ศรีธรรมมา. (2562). การพัฒนาความสามารถในการอ่านและการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้แบบ PWIM ร่วมกับแผนผังความคิด. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการนิเทศ. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุวิมล เขี้ยวแก้ว. (2540). การสอนวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา. ปัตตานี : ภาควิชาการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี.

อภิชญา เมฆวัน. (2565). การส่งเสริมความสามารถด้านการเขียนสะกดคำของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการสอน PWIM (Picture Word Inductive Model). ใน รายงานการวิจัย สาขาการสอนภาษานานาชาติ. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-14