การติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตรสาขาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2567 ของวิทยาลัยสารพัดช่างตราด โดยใช้รูปแบบการประเมินซิปป์ (CIPP Model)
คำสำคัญ:
การประเมินหลักสูตร, การประเมินหลักสูตรสาขา, รูปแบบการประเมินซิปป์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตรสาขาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2567 ของวิทยาลัยสารพัดช่างตราด ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวน และด้านผลผลิต โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model ของสตัฟเฟิลบีม กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน ครูผู้สอน จำนวน 7 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 10 คน ผู้ปกครอง จำนวน 13 คน และนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ 1 – 3 จำนวน 64 คน โดยเลือกสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน รวมทั้งสิ้น จำนวน 97 คน เครื่องมือที่ใช้เป็น แบบสอบถาม และแบบบันทึกข้อมูล ตรวจสอบความเที่ยงตรงจากผู้เชี่ยวชาญได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80 – 1.00 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า ด้านบริบท มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.40, S.D.= 0.61) โดยมีจุดมุ่งหมายของหลักสูตร โครงสร้างของหลักสูตร พันธกิจของหลักสูตร เนื้อหาของหลักสูตร และวิสัยทัศน์ของหลักสูตรสอดคล้องกับหลักสูตรคณะกรรมการการอาชีวศึกษา พุทธศักราช 2567 ด้านปัจจัยนำเข้า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.36, S.D.= 0.69) โดยมีความพร้อมด้าน คุณสมบัติของผู้สอน วัสดุ อุปกรณ์การสอน สิ่งอำนวยความสะดวกในโรงเรียนแหล่งเรียนรู้ อาคารสถานที่ และงบประมาณ ด้านกระบวนการ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.43, S.D.= 0.64) โดยมีการวัดประเมินผล การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การบริหารหลักสูตร การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และการนิเทศติดตามการใช้หลักสูตร และด้านผลผลิต มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.45, S.D.= 0.49) โดยคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ของนักเรียน และการคิด วิเคราะห์และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของนักเรียน เป็นไปตามหลักสูตร สำหรับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในทุกทักษะการเรียนรู้ทั้ง 3 หมวดวิชา นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผ่านเกณฑ์การประเมิน
References
กาญจนา คุณารักษ์. (2553). พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตร. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กรภัสสร อินทรบำรุง. (2558). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ (Veridian E-Journal), 8(1), 700-713.
โขมพัสตร์ สมบุญ. (2561). การประเมินหลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
จิตรา เผือกสวัสดิ์. (2561). การประเมินหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้การงาน อาชีพ และเทคโนโลยีชั้นประถมปีที่ 4 – 6 โรงเรียนวัดนอก อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี โดยใช้รูปแบบซิป. ใน การศึกษาค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตศึกษา สาขาหลักสูตรและการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2550). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี : ไทยเนรมิตกิจ อินเตอร์ โปรเกรสซิฟ.
บุญศรี พรหมมาพันธุ์. (2553). สัมมนาการประเมินหลักสูตร ใน ประมวลสาระวิชาสัมมนาการประเมิน การศึกษา หน่วยที่ 12. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาศึกษาศาสตร์.
รัตนะ บัวสนธ์. (2552). รูปแบบการประเมิน CIPP และ CIPPIEST มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและถูกต้อง ในการใช้ CIPP and CIPPIEST Evaluation Models: Mistaken and Precise Concepts of Applications. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย.
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษา (พิมพ์ครั้งที่2). บริษัท อาร์ แอนด์ ปรินท์ จํากัด : กรุงเทพมหานคร
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2567). หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2567. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
อิทธิเดช น้อยไม้. (2564). การประเมินหลักสูตรโรงเรียนสาธิต พิบูลบำเพ็ญ มหาวิทยาลัย บูรพา โปรแกรมอังกฤษ-คณิตศาสตร์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
Cronbach, I. J. (1970). Essential of Psychological Testing. New York: Harper. (1990). Essentials of psychological testion (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.
Krejcie, R & Morgan, D. (1970). Determining sample sizes for research activities. Educational and Psychological Measurement 30: 607 – 610.
Stufflebeam, D. and Shinkfield, A. J. (2007). Evaluation Theory, Models & Applications. Journal of Multi Disciplinary Evaluation.