กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาในการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรแบบมุ่งผลสำเร็จในสหวิทยาเขตเมืองชลบุรี 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 1

ผู้แต่ง

  • ณัฐกานต์ แสงงาม มหาวิทยาลัยเกริก
  • ประทุมทอง ไตรรัตน์ มหาวิทยาลัยเกริก

คำสำคัญ:

กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำ, ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ , วัฒนธรรมแบบมุ่งผลสำเร็จ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ 2) ศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ภาวะคุกคาม และความต้องการจำเป็นของการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ และ3) นำเสนอกลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาในการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรแบบมุ่งผลสำเร็จในสหวิทยาเขตเมืองชลบุรี 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 196 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย  โดยมีผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 162 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น

            ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาในการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรแบบมุ่งผลสำเร็จ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  = 3.79, S.D = 0.86) 2) ความต้องการจำเป็นของผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ด้านการสร้างวิสัยทัศน์ ด้านการเผยแพร่วิสัยทัศน์และด้านการปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ อยู่ในกลุ่มต่ำเป็นจุดแข็ง และด้านการเป็นแบบอย่างที่ดี อยู่ในกลุ่มสูงเป็นจุดอ่อน และความต้องการจำเป็น (PNImodified = 0.18) ในส่วนของความเป็นวัฒนธรรมองค์กรแบบมุ่งผลสำเร็จของสถานศึกษา พบว่า สภาพปัจจุบัน อยู่ในระดับมาก (  = 3.73, S.D = 0.86) และความต้องการจำเป็น (PNImodified = 0.23) และ3) กลยุทธ์พัฒนาผู้นำประกอบด้วย 2 กลยุทธ์หลัก 4 กลยุทธ์รอง ดังนี้ 1) เสริมสร้างการพัฒนาความสามารถผ่านการเรียนรู้และประสบการณ์ที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายองค์กร และ2) เสริมสร้างการพัฒนาระบบนิเวศขององค์กรส่งเสริมพลังบวกในการทำงาน

References

กิสษณี ทวีผล. (2562). อิทธิพลของวัฒนธรรมองค์การแบบมุ่งผลสำเร็จที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 16. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. นนทบุรี. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ทักษิณ มวลมนตรี. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารโรงเรียนและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. สกลนคร. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

รักเกียรติ หงษ์ทอง และธนพงษ์ อุดมทรัพย์. (2559). ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ในบริบทการนำการเปลี่ยนแปลง. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์, 18(2), 73-87.

รัตนา คนไว. (2564). ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. สกลนคร. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ศุภาพิชญ์ อินแตง. (2565). วัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของกลุ่มเจนเนอร์เรชั่นวายในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. นครปฐม. มหาวิทยาลัยมหิดล.

สมัชชา จันทร์แสง. (2558). การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. จันทบุรี. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณ.

สุนีรัตน์ เอี่ยมประไพ. (2557). การศึกษาประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้รูปแบบระดับชั้นลดหลั่นเชิงเส้น. ใน วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต. ปทุมธานี. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

สุภาวัฒน์ แสงคำมี. (2561). การสร้างวิสัยทัศน์ในสถานศึกษา : พฤติกรรมของผู้บริหาร. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

Bawonpoj, C. (2024). Education is a process of individual and social development. Journal of Social and Educational Development, 12(1), 45-60.

Coulson-Thomas, C. (2020). Leading organizational innovation. Effective Executive, 23(2), 12-30.

Erlygina, E. (2019). Organizational culture as a factor of organizational innovativeness. Bulletin of Science and Practice, 5(11), 276-279.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30 (3), 607-610.

Leonard, D. (2008). Visionary leadership: How to motivate and inspire. Leadership Review, 14(2), 45-67.

Thompson, G. (2005). Getting real about visionary leadership. [online]. Available from : http//:www.newhorizons.org/trans/Thompson.htm.accessed 27 September 2024.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-14