การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทักษะการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ SQ5R ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเมธีวุฒิกร “วัดพระธาตุหริภุญชัย”
คำสำคัญ:
ทักษะการอ่าน, คำศัพท์ภาษาอังกฤษ, การจัดการเรียนรู้แบบ SQ5Rบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้เพื่อ 1) ทดสอบประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 70/70 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ SQ5R สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบ SQ5R กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเมธีวุฒิกร “วัดพระธาตุหริภุญชัย” จำนวน 36 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง ด้วยวิธีการใช้กลุ่มทดลองกลุ่มเดียว เพื่อวัดผลก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ SQ5R และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และสถิติทดสอบค่า t-test แบบ Dependent Sample
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการทดสอบประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ78.60/70.40 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ SQ5R ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบ SQ5R โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. เรียกใช้เมื่อ 30 มิถุนายน 2567 จาก http://academic.obec.go.th.
ชฎารัตน์ ภูทางนา. (2563). การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ โดยวิธีสอนแบบสื่อประสมกับวิธีสอนแบบ SQ4R ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6 โรงเรียนเทศบาลเมืองขลุง 1 (บูรวิทยาคาร). ใน ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
นริศรา ชยธวัช. (2563). การพัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับผัง กราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ใน ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นัฐตราภรณ์ สิทธิ. (2565). การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ โดยใช้แอปพลิเคชัน ร่วมกับเทคนิค CIRC ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 โรงเรียนขยายโอกาสแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต.
รัชดากาญจน์ ใยดี. (2565). การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงแบบโฟนิกส์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านโนนตารอด. ใน ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
รัตนาภรณ์ ทับทิมจันทร์. (2565) การสร้างแบบฝึกทักษะโดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ5R เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ใน ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
โรงเรียนเมธีวุฒิกร วัดพระธาตุหริภุญชัย. (2565). รายงานผลการประเมินตนเอง (Self - Assessment Report : SAR) ประจำปีการศึกษา 2565. ลำพูน: โรงเรียนเมธีวุฒิกร.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2565). ข้อสอบ O-NET ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2565. เรียกใช้เมื่อ 15 ตุลาคม 2567 จาก https://www.niets.or.th
สิริวัตร สุวรรณไตร. (2564). ผลของการใช้เทคนิคการอ่าน SQ5R เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้นิทานคุณธรรม. ใน ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อัจจิมา ไชยชิต. (2563). การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงสะกดคำภาษาอังกฤษ (Phonic) โดยใช้แบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 จังหวัดสมุทรปราการ. ในรายงานการวิจัย. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2.