การพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2
คำสำคัญ:
การพัฒนา, ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 2)เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 ที่จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในโรงเรียน ด้วยตารางสำเร็จรูปของ เครจซี่และมอร์แกน ได้จํานวน 285 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณนาได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสำหรับข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง สถิติเชิงอนุมานได้แก่ T-test และ F-test ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.796
ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพ รองลงมา คือด้านชุมชนกัลยาณมิตร และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านโครงสร้างสนับสนุนชุมชน 2) ผลการเปรียบเทียบการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา ที่จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยภาพรวม พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่มีเพศ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา ไม่แตกต่างกัน 3) ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา ได้แก่ จัดการประชุมเพื่อให้ครูและบุคลากรในโรงเรียนมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและกำหนดวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนในการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
References
ชนะการ เลี้ยงอำนวย. (2566). แนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนศรีวิชัยวิทยา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.
ปองทิพย์ เทพอารีย์. (2557). การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพสำหรับครู ประถมศึกษา. ใน ปริญญานิพนธ์ ปร.ด. สาขาวิชาวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิราวรรณ์ เพ็ชรนาวา. (2564). แนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตวิภาวดี กรุงเทพมหานคร.สาขาวิชาพัฒนศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิลาสินี เทพเสนา. (2563). การศึกษาบทบาทของผู้บริหารต่อการส่งเสริมการจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของโรงเรียนสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอเมืองเชียงราย. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา.
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ และคณะ. (2545). รายงานการวิจัยเรื่องเรื่องรูปแบบเครือข่ายการ พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
Best, J.W. (1997). Research in Education. 3rd ed. New Jersey : Prentice Hall Inc.
Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement. 30(3) : 607 – 610 .
Senge, Peter M. (1990). The Fifth Discipline: The Art and Practice of the Learning Organization. New York: Doubleday Currency.
Sergiovanni, T. (1994). Building Community in Schools. San Francisco, CA : JosseyBass.