ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์กับการกำกับตนเองของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในเขตบางกะปิ สังกัดกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ความสัมพันธ์, แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์, การกำกับตนเองบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในเขตบางกะปิ สังกัดกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาระดับการกำกับตนเองของนักเรียน และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์กับการกำกับตนเองของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในเขตบางกะปิ สังกัดกรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 360 คน เลือกโดยใช้ตารางกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมีค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ .21-.84 และมีค่าความเชื่อมั่น .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสหสัมพันธ์เพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนโดยภาพรวมและรายองค์ประกอบ อยู่ในระดับ มาก ยกเว้นด้านความกระตือรือร้น อยู่ในระดับ ปานกลาง 2) การกำกับตนเองของนักเรียน โดยภาพรวมและรายองค์ประกอบ อยู่ในระดับ มาก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์กับการกำกับตนเองของนักเรียน มีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับ สูง (rXY=.842) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณารายองค์ประกอบ พบว่า ทุกองค์ประกอบมีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับ สูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
จงกลนี ภัทรกังวาน และสมประสงค์ น่วมบุญลือ. (2562). การศึกษาพฤติกรรมการวางแผน เรื่อง การจัดการสิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน.วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpalorn University, 12(5), 229-244.
ชวเลิศ เทพประดิษฐ์ และโสภา มะสึนาริ. (2561). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านชีวะสังคม กับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิต หลักสูตรวิชาภาษาญี่ปุ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. วรสารอินทนิลทักษิณสาร, 13(3), 181-194.
ณัฏติยาภรณ์ หยกอุบล. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม, 8(1), 85-102.
ดริญญา มูลชัย. (2555). การกระตุ้นความกระตือรือร้น และการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนของนักศึกษา ในการเรียนวิชาสารเคมีสำหรับยาง. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
ดวงใจ วงศ์เกย. (2566). อิทธิพลของพฤติกรรมการเรียนรู้และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ที่ส่งผลต่อความสำเร็จด้านการเรียนของนักศึกษา มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย – แปซิฟิก. วารสารรัชต์ภาคย์, 18(57), 203-220.
ธีระ ยอน. (2562). ปัจจัยคัดสรรทางจิตวิทยาที่สัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดกัมปงธม ราชอาณาจักรกัมพูชา. ใน วิทยานิพนธ์ ปริญญา การศึกษามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นภศร มิลินทานุช. (2561). การพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีมและจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 นักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ (สสวท.) ด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือในสาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิต. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นลิน คำแน่น. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนกลับบ้านร่วมกับการเรียน โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและเกมมิฟิเคชัน เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. ใน วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรทิพย์ อุ่นมีศรี และพัชรินทร์ ชมภูวิเศษ และพงษ์ศักดิ์ ศรีจันทร์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความรับผิดชอบในการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ, 2(2), 27-44.
วรางค์ รามบุตร. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาหลักการบัญชีของนักศึกษาโปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ. ใน รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
สัมพันธ์ ถิ่นเวียงทอง; เอื้อจิตร พัฒนจักร และกิตติพศ รบศึก. (2561). การศึกษาผลการประเมินตนเองของนักเรียนโดยใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิดร่วมกับการประเมินอย่างทันท่วงที. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 11(1), 325-338.
สุจิตรา โชคเจริญ. (2561). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเรียน การกำกับตนเอง ความเชื่อ และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์กับเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา. มหาสารคาม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุธาสินี ศรีเที่ยงตรง. (2553). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความทะเยอทะยาน (Ambition) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จังหวัดสุพรรณบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2567). รายงานสถิติการศึกษา ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร, 17.
อชิรญา จตุรภัทรไพบูลย์. (2563). การเสริมสร้างเป้าหมายทางการศึกษาของนักเรียนวัยรุ่น โดยการให้คำปรึกษากลุ่ม. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาศักยภาพมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Bandura, A. (1986). Social foundations of thought and action: A social cognitive Theory. New Jercy: Pretice-Hall.
Bandura, A. (1993). Perceived self-efficacy in cognitive development and functioning. Educational Psychologist. 28(2): 117-148.
Krejcie, R. V. and Morgan, D.W. (1970, Autumn). Determing Sample Size for Research Activities. Educational Measurement, 30(3), 607-610.
Maslow, Abraham H. (1970). Motivation and Personality. 2nd ed. New York: Harper
and Row. McClelland, D.C. (1953). The achievement motive. New York: Appleton-Century Crorts.
McClelland, D.C. (1987). Characteristics of Successful Entrepreneurs. Journal of Creative Behavior, 21(3), 219-233.
Schunk, D. H., & Zimmerman, B. J. (1994). Self-regulation of learning and performance issue and educational applications. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associate Publisher.
Zimmerman, B. J., & Martinez-Pons, M. (1988). Construct validation of strategy model of student self-regulate learning. Journal of Educational Psychology, 80, 284-290.