การพัฒนาการเรียนรู้หลักการนับเบื้องต้นโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับ GeoGebra เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปรับเจตคติ และลดความวิตกกังวลต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
คำสำคัญ:
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, โปรแกรม GeoGebra, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์, เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์, ความวิตกกังวลต่อวิชาคณิตศาสตร์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับโปรแกรม GeoGebra เรื่อง หลักการนับเบื้องต้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ เจตคติ และความวิตกกังวลต่อวิชาคณิตศาสตร์ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ ก่อนและหลังเรียน 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 5) เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงเจตคติและความวิตกกังวลต่อวิชาคณิตศาสตร์ ในระยะเวลาต่าง ๆ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 39 คน โดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง หลักการนับเบื้องต้น โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับโปรแกรม GeoGebra 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ 3) แบบประเมินเจตคติและความวิตกกังวล สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าสถิติที
ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีประสิทธิภาพ 83.31/78.63 สูงกว่าเกณฑ์ 70/70 ที่กำหนด 2) หลังจากเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์สูงขึ้น และความวิตกกังวลต่อวิชาคณิตศาสตร์ลดลง 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ มีค่าเฉลี่ย 23.59 และผลคะแนนเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ มีค่าเฉลี่ย 4.51 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5) การเปลี่ยนแปลงเจตคติและความวิตกกังวลต่อวิชาคณิตศาสตร์ ในช่วงระยะเวลาต่าง ๆ พบว่า เจตคติมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ความวิตกกังวลลดลงอย่างชัดเจน
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ดวงหทัย กาศวิบูลย์ (2561). การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานสำหรับครูคณิตศาสตร์ (Problem-Based Learning for Mathematics Teachers). เชียงใหม่ : ภาควิชาหลักสูตร การสอนและการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2550). การวัดเจตคติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). อุบลราชธานี: วิทยาออฟเซทการพิมพ์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2541). การพัฒนาการสอน. กรุงเทพมหานคร: สุรีวิทยาสาส์น.
ประวีณ์นุช วสุอนันต์กุล. (2566). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบวัฏจักรการสืบเสาะความรู้ร่วมกับการประยุกต์ใช้เทคนิค STAD ผสมสื่อ GeoGebra ที่ส่งเสริมมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 18(3), 33-42.
ปุณญนุช เขียวไกร. (2565). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างเจตคติเชิงบวกและลดความวิตกกังวัลต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ภูมิพัฒน์ สุดเสน่ห์. (2566). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง กำหนดการเชิงเส้น ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 9(8), 1367-1379.
โรงเรียนเทศบาลบูรพาพิทยาคาร. (2567). ข้อมูลพื้นฐาน.ข้อมูลนักเรียน. เรียกใช้เมื่อ 18 กันยายน 2567 จาก https://www.bppschool.ac.th/index.php/about/2019-09-07-07-48-33.
ศิริลักษณ์ ภักดีรักษ์. (2566). การพัฒนาทักษะในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้โปรแกรม GeoGebra ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบ (KWDL). วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์, 1(2), 52-65.
สิทธิชัย พานิชย์วิไล. (2566). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่เน้นปฏิบัติการทางคณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีโซเชียล คอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับโปรแกรม GeoGebra ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง วงกลม ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 25(3), 286-296.
Furner, J. M. (2024). The Best Pedagogical Practices for Teaching Mathematics Revisited: Using Math Manipulatives, Children's Literature, and GeoGebra to Produce Math Confident Young People for a STEM World. Pedagogical Research, 9(2).
Hembree, R. (1990). The Nature, Effects, and Relief of Mathematics Anxiety. Journal for Research in Mathematics Education. 21(1), 33-46.
Krajcik, J. S., Blumenfeld, P. C., Marx, R. W., & Soloway, E. (1994). A collaborative model for helping middle school science teachers learn project-based instruction. The Elementary School Journal. 94, 483-497.
La Ode Ahmad Jazuli, Kodirun, Fiqra Purnama Zahra. (2024). Problem-Based Learning Model Assisted by GeoGebra for Students' Mathematical Conceptual Understanding. Jurnal Amal Pendidikan, 5(2), 158-169.
Mayasari, F., Napitupulu, E. E., & Sinaga, B. (2024). Development of GeoGebra Assisted Learning Modules to Improve Mathematical Representation Abilities and Self Regulated Learning of Senior High School. Mathline: Jurnal Matematika dan Pendidikan Matematika, 9(2), 481-500.
Othman, H., Mohd Salleh, B., & Abdullah, S. (2013). 5 Ladders of Active Learning: An Innovative Learning Steps in PBL Process. In K. M. Yusof, M. Arsat, M. T. Borhan, E. D. Graaff, A. Kolmos, F. A. Phang (Eds.), PBL Across Cultures (pp. 245-25 Aalborg: Aalborg University Press.
Pizzie, R. G., & Kraemer, D. J. (2023). Strategies for remediating the impact of math anxiety on high school math performance. npj Science of Learning, 8(1), 44.
Wakhata, R., Balimuttajjo, S., & Mutarutinya, V. (2024). Relationship between students’ attitude towards, and performance in mathematics word problems. Plos one, 19(2), e0278593.
Wilson, J. W. (1971). Evaluation of Learning in Secondary School Mathematics in Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: U.S.A. McGraw-Hill.