การบริหารงานประชาสัมพันธ์ วิทยาลัยการอาชีพอู่ทอง

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐ์กชพร ปุลินถิรพุทธิ์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • จงกล เดชปั้น มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • อโณทัย ไทยวรรณศรี มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

การบริหารงาน, งานประชาสัมพันธ์, วิทยาลัยการอาชีพอู่ทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารงานประชาสัมพันธ์ของวิทยาลัยการอาชีพ    อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรต่อการบริหารงานประชาสัมพันธ์ของวิทยาลัยการอาชีพอู่ทอง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร ครู เจ้าหน้าที่ จำนวน 58 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

              ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพการบริหารงานประชาสัมพันธ์ของวิทยาลัยการอาชีพอู่ทอง โดยภาพรวม พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การดำเนินงานประชาสัมพันธ์มีความพึงพอใจมากที่สุด รองลงมาคือ การจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรในการประชาสัมพันธ์ การจัดองค์กรการประชาสัมพันธ์ และด้านการกำหนดนโยบายประชาสัมพันธ์ ตามลำดับ และ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรต่อการบริหารงานประชาสัมพันธ์ของวิทยาลัย การอาชีพอู่ทอง ไม่แตกต่างกัน

References

บุณยนุช ธรรมสอาด. (2551). คู่มือปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์เรื่องหลักการประชาสัมพันธ์. สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษาเขต 5: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ.

ประทีป รักธรรม. (2561). การบริหารงานประชาสัมพันธ์ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนภาคกลางตอนล่าง เขตกรุงเทพมหานคร.งานวิจัยวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์.

ปัณณทัต กาญจนะวสิต. (2561). แนวทางการพัฒนาการประชาสัมพันธ์ของกองทัพบกในยุค 4.0. เรียกใช้เมื่อ 10 ธันวาคม 2563 จาก http://www.dsdw2016.dsdw.go.th/doc_pr/ndc.

พิมลวรรณ มหาชัย. (2557). พัฒนาการของการประชาสัมพันธ์สำหรับภาคการศึกษา กรณีศึกษาวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รุ่งนภา พิตรปรีชา. (2560). พลังแห่งการประชาสัมพันธ์. กรุงเทพมหานคร: คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัชระ นิตยสุทธ์. (2557). แนวทางการประชาสัมพันธ์ข่าวสารกองทัพบกทางสื่อออนไลน์. เอกสาร วิจัยส่วนบุคคล, วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

วีรวรรณ แซ่จ๋าว. (2558). อิทธิพลของทัศนคติและความพึงพอใจในการเปิดรับข่าวสารจากสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวผ่าน สื่ออินเทอร์เน็ตที่มีต่อพฤติกรรมการตัดสินใจวางแผนการท่องเที่ยว. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศศิธร แก้วรักษา. (2552). การศึกษาการบริหารงานประชาสัมพันธ์ สถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุภัค ถาวรนิติกุล. (2557). การศึกษาแนวทางเพื่อพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ของคณะเกษตร กำแพงแสนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 7(2), 1137-1148.

อลิสา มะเซ็ง. (2557). แนวทางพัฒนางานประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์,1(2),1-10.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-14