การศึกษาสภาพการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนในโรงเรียนพื้นที่อำเภอด่านช้าง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐ์กชพร ปุลินถิรพุทธิ์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • บุศรา เชื้อดี มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • พัชรี เมืองสอง มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

การส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้, นักเรียนของโรงเรียนในอำเภอด่านช้าง, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนระดับประถมศึกษาในโรงเรียนพื้นที่อำเภอด่านช้าง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 และเปรียบเทียบสภาพการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนระดับประถมศึกษาในโรงเรียนพื้นที่อำเภอด่านช้าง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนระดับประถมศึกษาในอำเภอด่านช้าง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 จำนวน 186 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย แบบตารางเลขสุ่ม เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมถึงการทดสอบสมมติฐานด้วย t-test และ F-test (One Way ANOVA)

                 ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพสภาพการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนระดับประถมศึกษาในโรงเรียนพื้นที่อำเภอด่านช้าง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบสภาพการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนระดับประถมศึกษา พบว่า บุคลากรที่มีขนาดโรงเรียนวิทยฐานะครูผู้สอน และประสบการณ์การสอนที่ต่างกันมีสภาพการดำเนินการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้แก่นักเรียนระดับประถมศึกษาของโรงเรียนในอำเภอด่านช้าง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 แตกต่างกัน

References

กันตินันท์ การะพัตร (2563). สภาพ และปัญหาการดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของโรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

กัลยา วานิชบัญชา. (2550). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิราวรรณ อายัน. (2555). การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านของครูบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนในเขตจังหวัดปทุมธานี. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรศาสตมหบัณฑิต สาขาการจัดการการศึกษา วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

จุฑามาส เทวา. (2558). บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการจัดกิจกรรมสร้างนิสัยรักการอ่านของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษา กาญจนบุรี เขต 1. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต. กาญจนบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

บัวคำ ประดิษฐ์จา (2557). การประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนสมเด็จพิทยาคม จังหวัดกาฬสินธุ์. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. กาฬสินธุ์: มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.

พิสมัย ดวงพิมาย (2560). การส่งเสริมการอ่านของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรศาสตมหบัณฑิต สาขาการจัดการการศึกษา วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วราภรณ์ ภิรมย์นาค (2559). การประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

วาริน เชิญกลาง (2557). การส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. ลพบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

สุธัมมา เพ็ชรเจริญ (2555). การประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โรงเรียนบางบ่อวิทยาคม. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607 – 610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-14