ผลการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
คำสำคัญ:
การเรียนรู้แบบผสมผสาน, การสืบเสาะหาความรู้, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, เจตคติทางวิทยาศาสตร์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง วัสดุและสสาร และ 2) เพื่อเปรียบเทียบเจตคตทางวิทยาศษสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลสระบุรี จำนวน 48 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น เรื่อง วัสดุและสสาร จำนวน 7 แผนการเรียนรู้ รวมเวลา 17 ชั่วโมง
2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง วัสดุและสสาร ซึ่งเป็นแบบทดสอบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และ 3) แบบวัดเจตคติทางวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 21 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง วัสดุและสสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) เจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
ขวัญชนก มาตรา. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการอ่านอย่างกระตือรือร้น (Active reading) หน่วยการเรียนรู้เรื่องพลังงานแห่งแสงเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความสามารถในการอ่านและเจตคติทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธงชัย ห้วยทราย. (2561). การพัฒนาห้องเรียนเสมือนโดยการใช้การเรียนแบบผสมผสานร่วมกับวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น และผังกราฟิกที่ส่งผลต่อการคิดเชิงระบบการคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การสร้างงานผ่านคอมพิวเตอร์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ปรัชญนันท์ นิลสุข และ ปณิตา วรรณพิรุณ. (2556). การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน : สัดส่วนการผสมผสาน. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา, 25(85), 31-36.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2557). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มีสท์.
โรงเรียนอนุบาลสระบุรี. (2564). รายงานผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รายวิชาวิทยาศาสตร์ ปีการศึกษา 2564. สระบุรี: โรงเรียนอนุบาลสระบุรี.
โรงเรียนอนุบาลสระบุรี. (2565). แผนปฏิบัติการ ปีการศึกษา 2565. สระบุรี: โรงเรียนอนุบาลสระบุรี.
วิจารณ์ พานิช. (2557). การประเมินเพื่อมอบอำนาจการเรียนรู้ : การประเมินเพื่อมอบอำนาจการเรียนรู้ = Embedded formative assessment. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2564). รายงานผลการทดสอบ o-net ระดับชาติ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. การศึกษา 2563. เรียกใช้เมื่อ 20 พฤษภาคม 2565, จากhttps://www.niets.or.th/th/content/view/22753
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
อลงกรณ์ อู่เพ็ชร. (2561). ผลการเรียนรู้ร่วมกันแบบผสมผสานที่มีต่อความสามารถในการทำงานกลุ่ม วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี 4 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(3), 3068-3080.
Abdulla, A. (2017). Coaching Students in Secondary Schools: Closing The Gap Between Performance and Potential. New York, NY: Routledge.
Bybee, R. and Landes , N.M. ( 1990). Science for life and living An Elementary School science program from Biological Sciences Improvement Study (BSCS). The American Biology Teacher. 52 (2), 92-98.
Horn , B. M., & Staker , H. (2011). The Rise of K-12 Blended Learning. Unpublished Paper : Innosight Institute.
Knight, J. (2009). Coaching Approaches & Perspectives. Thousand Oaks, CA: Corwin.
Kozlow, M. J. & Nay, M. A. (1976). An approach to measuring scientific attitudes. Science Education. 60 (2), 147-172.
Stacey, E. and Gerbic, P. (2008).Success factors for blended learning. Proceedings of the 25 ASCILITE Conference. Melbourne, Australia: Deakin University.