แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาดอยหลวง

ผู้แต่ง

  • สุพิชา บุญเสรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ไพรภ รัตนชูวงศ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • สมเกียรติ ตุ่นแก้ว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยี, กลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาดอยหลวง

บทคัดย่อ

การศึกษาอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาดอยหลวง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาดอยหลวง จำนวน 106 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม 2) ศึกษาแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศต่อการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา  ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และหัวหน้าฝ่ายงาน ของโรงเรียนที่มีแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยี จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสัมภาษณ์ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาดอยหลวง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ บันทึกการสนทนากลุ่ม

จากผลการวิจัยพบว่า 1) ขั้นตอนที่ 1 สภาพภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับมากส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือด้านการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการ อยู่ในระดับมาก 2) ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศต่อการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยี 4 ด้าน 1.การมีวิสัยทัศน์ในการใช้เทคโนโลยี 2. การใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการ 3.การใช้เทคโนโลยีในการวัดผลและประเมินผล 4. การมีจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี และ 3) ขั้นตอนที่ 3 แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหาร จากการศึกษาสภาพภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา และ ศึกษาแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศต่อการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยี ดังนี้ 1) ด้านการมีวิสัยทัศน์ในการใช้เทคโนโลยี การมีวิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยีที่กำหนดเป้าหมายชัดเจน สื่อสารสร้างความร่วมมือ เลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสม 2) ด้านการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการ ด้วยเทคโนโลยีผ่านระบบดิจิทัลที่เพิ่มประสิทธิภาพงาน 3) ด้านการใช้เทคโนโลยีในการวัดผลและประเมินผล การส่งเสริมบุคลากรให้มีพัฒนาระบบวัดผลและประเมินผลที่ครอบคลุม สะดวก และสะท้อนพัฒนาการของผู้เรียน 4)ด้านการมีจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี  การส่งเสริมจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี โดยปลูกฝังจิตสำนึก สนับสนุนความโปร่งใส เคารพสิทธิส่วนบุคคล และกำหนดนโยบายที่ชัดเจน

References

กัญญาภัค ชลธาร. (2564). การพัฒนาระบบการประเมินผลการเรียนรู้แบบดิจิทัลในโรงเรียประถมศึกษา. ใน วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยบูรพา.

กฤษฎา สุวรรณศิลป์. (2565). แนวทางการส่งเสริมจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีในสถานศึกษา. วารสารจริยธรรมและเทคโนโลยี, 9(4), 102-120.

กฤษณา อินทรสุข. (2565). การปลูกฝังจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียน. วารสารคุณธรรมศึกษา, 7(4), 90-102.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้น ฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560). กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.

จารุวรรณ ทองไทย. (2564). การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารสถานศึกษา. วารสารการจัดการศึกษา, 9(1), 20-36.

จารุวรรณ ธาราทิพย์. (2562). การพัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลในโรงเรียนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความโปร่งใส. วารสารบริหารการศึกษา, 5(2), 45-60.

ชญานิษฐ์ สมบัติ. (2564). การพัฒนาผู้นำเชิงเทคโนโลยีในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วารสารการศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 22(1), 45-58.

ชัยยา บัวหอม. (2563). แนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1. พิจิตร: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

พิมพ์พร อังคณานุกูล. (2565). การใช้เทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการในสถานศึกษาของจังหวัดเชียงราย. วารสารการศึกษาและเทคโนโลยี, 17(2), 112-123.

วิชาญ ศรีสมบัติ. (2562). การประเมินผลการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยี. วารสารการศึกษาและเทคโนโลยี, 4(3), 12-25.

โรงเรียนบ้านไทรทอง. (2567). แผนพัฒนาโรงเรียนบ้านไทรทอง. เรียกใช้เมื่อ 17 ธันวาคม 2567 จาก https://korat3.go.th/action-plan/upload/1708678317.pdf.

สมจิตต์ เรืองเดช. (2565). แนวทางการใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนในสถานศึกษา. วารสารเทคโนโลยีและการศึกษา, 7(3), 89-104.

สมชาย มงคลรัตน์. (2563). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารวิจัยการศึกษา, 5(2), 45-58.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566 – 2570. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เรียกใช้เมื่อ 15 ตุลาคม 2567 จาก https://www.nesdb.go.th.

Anderson, R. E., & Dexter, S. (2005). School technology leadership: An empirical investigation of prevalence and effect. Educational Administration QuarterlyJournal, 40, 49-82.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-14