ความต้องการของครูผู้สอนต่อการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1

ผู้แต่ง

  • กัลยา สีบาง วิทยาลัยนครราชสีมา
  • จำรัส มุ่งเฝ้ากลาง วิทยาลัยนครราชสีมา
  • พจน์ เจริญสันเทียะ วิทยาลัยนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ความต้องการ, ความต้องการของครู, การนิเทศภายใน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการของครูผู้สอนต่อการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 2) เปรียบเทียบความต้องการของครูผู้สอนต่อการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน 3) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาความศึกษาความต้องการของครูผู้สอนต่อการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 330 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ได้ค่า IOC ระหว่าง 0.80 – 1.00 และได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-test

ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการของครูผู้สอนต่อการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบความต้องการของครูผู้สอนต่อการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามระดับการศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และประสบการณ์ในการทำงาน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 3) แนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ควรมุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองผ่านการคิดวิเคราะห์และการปฏิบัติจริง ควบคู่กับการเรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในความสัมพันธ์ของโลก การพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพเป็นสิ่งจำเป็น โดยเน้นการฝึกปฏิบัติและส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการ นอกจากนี้ควรปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยม และประชาธิปไตยผ่านกิจกรรมที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วม สุดท้ายการเรียนรู้ต้องอาศัยความร่วมมือจากครอบครัวและชุมชน พร้อมทั้งมีการประเมินผลที่มุ่งเน้นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

References

แคทรียา แสงใส. (2567). สภาพและปัญหาการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เถลิงศักดิ์ จอกถม. (2565). ปัญหาการนิเทศภายในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ระนอง. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระนอง.

ธารทิพย์ ดำยศ. (2560). การนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็กตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยสุราษฎร์ธานี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). วิจัยทางการศึกษา แนวคิดและวิธีการ (พิมพ์ครั้งที่ 10). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอนที่ 99 ก หน้า 1–9 (19 สิงหาคม 2545).

เพ็ญศรี จันทร์พาหิรกิจ. (2560). แนวคิดและแนวปฏิบัติในการนิเทศการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์การศึกษาไทย.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. (2550). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 27 ก หน้า 1–127 (24 สิงหาคม 2550).

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1. (2567). ข้อมูลประชากรครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2567. บุรีรัมย์: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1.

สุรพล สีขาวอ่อน. (2560). การดำเนินงานนิเทศภายในสถานศึกษาตามความคิดเห็นของบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อานนท์ โอนนอก. (2559). ปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา เขตกิ่งอำเภอนิคมพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. W. H. Freeman.

Deci, E. L., & Ryan, R. M. (1985). Intrinsic motivation and self-determination in human behavior. Springer.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 33(1), 67.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-06-28