การบริหารการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3
คำสำคัญ:
การบริหารการเรียนรู้, ผู้เรียนเป็นสำคัญ, ประถมศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบการบริหารการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 จำแนกตามตำแหน่ง และขนาดของสถานศึกษา 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน 339 คน โดยการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่ และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์ มีค่า IOC=0.80–1.00 และได้ค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถามเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test f-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบการบริหารการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 จำแนกตามตำแหน่ง โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามขนาดสถานศึกษา ไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางการพัฒนาการบริหารการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การพัฒนาการเรียนรู้ควรมุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองผ่านการคิดวิเคราะห์และการปฏิบัติจริง ควบคู่กับการเรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในความสัมพันธ์ของโลก การพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพเป็นสิ่งจำเป็น โดยเน้นการฝึกปฏิบัติและส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการ นอกจากนี้ควรปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยม และประชาธิปไตยผ่านกิจกรรมที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วม สุดท้าย การเรียนรู้ต้องอาศัยความร่วมมือจากครอบครัวและชุมชน พร้อมทั้งมีการประเมินผลที่มุ่งเน้นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
References
กันยารัตน์ ไวคำ. (2563). การศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็น สำคัญวิชาภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษา ในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษาจังหวัดขอนแก่น. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ทินกร โสรถาวร. (2564). พฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. ร้อยเอ็ด: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เทพกร พิทยาภินันท์. (2564). การพัฒนาพฤติกรรมการสอนของครูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ: กรณีศึกษาโรงเรียนทุ่งยางแดงวิทยาคม โรงเรียนศิริราษฎร์สามัคคี และโรงเรียน สุวรรณไพบูลย์ สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดปัตตานี. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
นงค์ แน่นอุดร. (2563). การศึกษาการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่สอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามรูปแบบของ CIPPA Model ของครูผู้สอน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ ปีการศึกษา 2566. ศรีสะเกษ: มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). วิจัยทางการศึกษา: แนวคิดและวิธีการ (พิมพ์ครั้งที่ 10). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บุญส่ง นิลแก้ว. (2559). การจัดการศึกษากับการพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุษบา ธีรศาสตร์. (2564). การมีส่วนร่วมของครอบครัวในการสนับสนุนการเรียนรู้ของ นักเรียนในระดับประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
พนัส หันนาคินทร์. (2560). การบริหารสถานศึกษากับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2559 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. (2553). ราชกิจจานุเบกษา. กรุงเทพมหานคร.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2562. (2562). ราชกิจจานุเบกษา. กรุงเทพมหานคร.
พีระ ประยุกต์วงศ์. (2558). การพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และเขียนในระดับประถมศึกษา. วารสารการศึกษาไทย, 12(2), 10-25.
วารุณี อภิชิต. (2562). การเรียนรู้แบบสร้างสรรค์และการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์. วารสารการเรียนรู้ตลอดชีวิต, 20(4), 67-85.
สมพร จึงรุ่งเรืองกิจ. (2563). การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2559). นโยบายและแนวทางการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทย. นนทบุรี: สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
อุทัยวรรณ ทองคำ. (2562). การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูในโรงเรียน สังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 33(1), 67.