การพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความและความพึงพอใจโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับชุดฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ผู้แต่ง

  • ปรีชญาดา พรหมมินทร์ วิทยาลัยนครราชสีมา
  • คงศักดิ์ สังฆมานนท์ วิทยาลัยนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความ, ความพึงพอใจ, การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD, ชุดฝึกทักษะ, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การอ่านจับใจความ โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับชุดฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนกับก่อนเรียน และหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 75 และ 2) ศึกษาระดับความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน  เรื่อง การอ่านจับใจความ การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับชุดฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2รูปแบบการวิจัยที่ใช้คือการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มประชากรคือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของกลุ่มโรงเรียน ในเขตพื้นที่ ตำบลละหานทราย อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์  จำนวน 2 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนละหานทรายรัชดาภิเษกและโรงเรียนแสนสุข ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 6 ห้อง รวมทั้งหมด276  คนกลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนแสนสุขจำนวน 26 คน โดยวิธีสุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนการสอน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบค่าสถิติที  

ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การอ่านจับใจความ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับชุดฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การอ่านจับใจความ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับชุดฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01และ 2)ความพึงพอใจต่อการเรียนเรื่อง การอ่านจับใจความ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับชุดฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับมากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กาญจนา ชลเกริกเกียรติ. (2561). การพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนคำพื้นฐานภาษาไทยโดยใช้แบบฝึกทักษะสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1,:13. โรงเรียนวัดบ่อมะปริง: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

กินาริน ตันเสียงสม. (2548). การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านการอ่าน จับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2 ที่สอนด้วยวิธีสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิค STAD กับวิธีสอนแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธิดา โมสิกรัตน์. (2544). การพัฒนาวิธีการเรียนรู้ร่วมกันโดยการเรียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อนสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กรณีศึกษาชุดวิชาไทยศึกษาจังหวัดสมุทรสาครรายงานการวิจัยฉบับย่อเรื่อง,565.นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นพนภา อ๊อกด้วง. (2547). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องคำและหน้าที่ของคำในภาษาไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนด้วยวิธีสอนแบบร่วมมือกันเทคนิค STAD กับการสอนแบบปกติ. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตสาขาวิชาการสอนภาษาไทย ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศศิธร ธัญลักษณานนท์. (2542). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและสืบค้น. กรุงเทพมหานคร: เธิร์ดเวฟเอ็ดดูเคชั่น มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศิริพร ทาทอง. (2548). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลักภาษาไทย เรื่องคำ กริยาและ วิเศษณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลวัดธรรมิการามอำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่ได้รับการสอนโดยการเรียนแบบร่วมมือกันเทคนิคกลุ่ม STAD กับการสอนแบบปกติ. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุวพร อังกุลดี, ธนรัชฏ์ศิริสวัสดิ์ และสุจินต์ วิศวธีรานนท์. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 13 (1),227.

อดิศร ขาวสะอาด. (2555). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านจับใจความและคุณลักษณะจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2 โรงเรียนนวลนรดิศวิทยาคมรัชมงคลาภิเษก ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและวิธีสอน บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร.

อาลิตตา เหมเกียรติกุล. (2553). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านการอ่านสรุปความชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรมแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD. ใน การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-06-28