การพัฒนาสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กรณีห้องเรียนที่ใช้เทคโนโลยีและไม่ใช้เทคโนโลยี
คำสำคัญ:
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้, สมรรถนะทางคณิตศาสตร์, การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร สำหรับห้องเรียนที่ใช้เทคโนโลยี ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร สำหรับห้องเรียนที่ไม่ใช้เทคโนโลยี ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 3) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนห้องเรียนที่ใช้เทคโนโลยีกับเกณฑ์ร้อยละ 70 4) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนห้องเรียนที่ไม่ใช้เทคโนโลยีกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 5) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระหว่างห้องเรียนที่ไม่ใช้เทคโนโลยีและใช้เทคโนโลยี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 58 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี 2) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยไม่ใช้เทคโนโลยี และ 3) แบบทดสอบสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์งานเขียน สถิติทดสอบที กรณีกลุ่มเดียว และสถิติทดสอบทีแบบกลุ่มอิสระ
ผลการวิจัย พบว่า 1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 75.31/72.19 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยไม่ใช้เทคโนโลยี มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 73.50/71.66 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 3) การพัฒนาสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนห้องเรียนที่ใช้เทคโนโลยีสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) การพัฒนาสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนของห้องเรียนที่ไม่ใช้เทคโนโลยีสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 5) คะแนนเฉลี่ยแบบทดสอบสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนห้องเรียนที่ใช้เทคโนโลยีกับนักเรียนห้องเรียนที่ไม่ใช้เทคโนโลยีไม่มีความแตกต่างกัน
References
รัตติกาล พลศรี. (2566). การศึกษาสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาคณิตศาสตรศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2541). การพัฒนาการสอน. กรุงเทพมหานคร: สุรีวิทยาสาส์น.
ปรมินทร์ ธัญญะภู. (2566). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมทางคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสารและการนำเสนอทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาคณิตศาสตรศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
วนันท์ดา ปราบภัย และคณะ. (2566). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค LT ร่วมกับการใช้สื่อเทคโนโลยีในการสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง ร้อยละและอัตราส่วน ต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา, 6(2), 280-292.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โครงการ PISA ประเทศไทย. (2557). ตัวอย่างการประเมินผลนานาชาติ PISA คณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2564). เอกสารประกอบการอบรมการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะทางคณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2565). เอกสารประกอบการอบรมการประเมินสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ โครงการเพิ่มศักยภาพครูให้มีสมรรถนะของครูยุคใหม่ สำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร : อรุณการพิมพ์.
โรงเรียนท่าขอนยางพิทยาคม. (2567). ข้อมูลพื้นฐานนักเรียน ปีการศึกษา 2567. เรียกใช้เมื่อ 19 ตุลาคม 2567 จาก https://www.spk.ac.th/home/news/admis67banners/.
Akçay, A. O., et al. (2021). The Effect of Technology on Primary Students’ Mathematics Achievement. International Research in Education, 7(2), 1-21.
OECD. (2015). Students, Computers and Learning Making the Connection. Retrieved from http://dx.doi.org/10.1787/9789264239555-en.