ทักษะการโค้ชของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1
คำสำคัญ:
ทักษะการโค้ชของผู้บริหารสถานศึกษา, ผู้บริหารสถานศึกษา, ครูผู้สอนผู้สอน, การปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของครูผู้สอนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับทักษะการโค้ชของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการโค้ชของผู้บริหารสถานศึกษาและการปฏิบัติตามมาตรฐาน การปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียน 4) เพื่อศึกษาทักษะการโค้ชของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 จำนวน 302 คน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทักษะ การโค้ชของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่ศึกษา เท่ากับ 0.975 และการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของครูผู้สอนผู้สอนในเขตพื้นที่ศึกษา เท่ากับ 0.939 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ โดยใช้วิธี (Enter Multiple Regression Analysis) เพื่อดูตัวแปรที่มีนัยสำคัญ และนำค่าสถิติที่ได้ไปสร้างสมการพยากรณ์
ผลการวิจัยพบว่า
- ทักษะการโค้ชของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่ศึกษา อยู่ในระดับมาก
- การปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียนในเขตพื้นที่ศึกษาอยู่ในระดับมาก
- ทักษะการโค้ชของผู้บริหารสถานศึกษาและการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียนในเขตพื้นที่ศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
- ทักษะการโค้ชของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียนในเขตพื้นที่ศึกษา ได้แก่ ทักษะด้านการสร้างความไว้วางใจ (X1) ทักษะด้านการฟัง (X3) ทักษะด้านการให้ข้อมูลย้อนกลับ (X5) ส่งผลต่อการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ 0.616 ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 37.90
References
จำเนียน มุนธานี, และ พงษ์ศักดิ์ ศรีจันทร์. (2566). การโค้ชของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะของครูผู้สอนในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 20(89), 1-20.
ณัฏฐนิธ กาลพัฒน์, สุวิทย์ ภาณุจารี, และ วีระวัฒน์ พัฒนกุลชัย. (2566). การโค้ชเชิงบูรณาการด้วยหลักกัลยาณมิตรธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารวิชาการการจัดการภาครัฐและเอกชน, 9(1), 1-15.
ดวงจันทร์ เดี่ยววิไล, ฟิสิกส์ ฌอณ บัวกนก, และ ดวงใจ พุทธวงศ์. (2562). กระบวนการพัฒนาครูแบบหนุนนำต่อเนื่องเพื่อพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนในจังหวัดลำปาง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 8(2), 31–45.
เบญจมาศ ชาติศักดิ์ยุทธ. (2560). รูปแบบการเป็นพี่เลี้ยงและการสอนงานของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 39. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
ประสพสุข ศรีหงส์ทอง. (2565). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมโดยใช้กระบวนการโค้ชชิ่งทีมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนโนนสะอาดราษฎร์อำนวย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์.
พวงอ้อย ไชยดี. (2564). การพัฒนาแนวทางการนิเทศแบบสอนแนะ (Coaching) สำหรับสถานศึกษาสังกัดเทศบาล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน, 11(1), 575-586.
เราชา ชูสุวรรณ, และ วันซาวีลา เบ็ญลาเตะ. (2562). การพัฒนารูปแบบการสอนงานในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภายใต้บริบทสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 31(1), 148-162.
วัชรี อมรโรจน์วรวุฒิ, และคณะ. (2562). รูปแบบการจัดการศึกษาบูรณาการที่เน้นกระบวนการโค้ชและการเสริมสร้าง Growth Mindset เพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองสร้างสรรค์ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล, 9(2), 262-283.
สิราวิชญ์ วัชรกาฬ, ณรงค์ พิมสาร, และ สิริกาญจน์ ธนวุฒพรพินิจ. (2562). รูปแบบการพัฒนาทักษะการโค้ชสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 14(2), 1-15.
สุชาติ แวงโสธรณ์. (2565). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายใน โดยใช้กระบวนการชี้แนะและระบบพี่เลี้ยงเพื่อส่งเสริมศักยภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสัย. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 2(6), 343–384.
สุทธยา ชอุ่ม, จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย, นภาเดช บุญเชิดชู, และโยธิน ศรีโสภา. (2563). กลยุทธ์การบริหารการนิเทศแบบชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยงในสถานศึกษาเอกชน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 7(1), 53-66.
อนุสรณ์ นามประดิษฐ์, ชูชีพ พุทธประเสริฐ, และ สุทธิพงศ์ ยงค์กมล. (2565). รูปแบบการพัฒนาทักษะการโค้ชของผู้บริหารโรงเรียนในเครือสารสาสน์. วารสารปัญญา, 29(2),54-66.
อุทิศ ดวงผาสุข, ลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน, และ นลินณัฐ ดีสวัสดิ์. (2560). การบริหารโดยการโค้ชเพื่อการพัฒนาองค์การ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี, 11(26), 1-15.
Barton, E. E., Chen, C.-I., Pribble, L., Pomes, M., & Kim, Y.-A. (2013). Coaching preservice teachers to teach play skills to children with disabilities. Teacher Education and Special Education, 36(4), 330–349.
Britton, L. R., & Anderson, K. A. (2010). Peer coaching and pre-service teachers: Examining an underutilised concept. Teaching and Teacher Education, 26(2), 306–314.
Bartz, D. E. (2017). Communication, feedback, and coaching skills for managers to use with staff members during the performance appraisal process. International Journal of Business and Social Science, 8(6), 1–4.