ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, ผู้บริหารสถานศึกษา, ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา และ4) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 จำนวน 291 คน จากตารางของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา เท่ากับ 0.960 และความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู เท่ากับ 0.971 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก และความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู ได้แก่ การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล (x4) การมีอิทธิพลเชิงอุดมการณ์ (x1) และการกระตุ้นทางปัญญา (x3) ร่วมกันทำนายความพึงพอใจในการปฎิบัติงานของครู ได้ร้อยละ 89.50
References
กมลมาลย์ ไชยศิริกัญญา. (2559). สมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพบริหารจัดการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 5(1), 82-94.
ชโรบล เฉียงกลาง. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.
เชษินีร์ แสวงสุข. (2560). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ดาลัด กุศลผลบุญ. (2547). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานครที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนแตกต่างกัน. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
บุญยืน ลิตตา. (2543). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู. สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.
มัธนา กามะ. (2563). คุณลักษณะและบทบาทของผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต, 20(1), 92-106.
วิเชียร วิทยอุดม. (2554). ทฤษฎีองค์การ. กรุงเทพมหานคร: ธนธัชการพิมพ์.
สมุทร ชำนาญ. (2553). ภาวะผู้นำทางการศึกษา ทฤษฎีและปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 2). ระยองพีเอส.การพิมพ์.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2. (2567). ข้อมูลพื้นฐาน. เรียกใช้เมื่อ 15 ตุลาคม 2567 จาก https://www.loei2.go.th/wp/.
อัชยา คิสาลัง. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดเทศบาลเมืองนครพนม.วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 1(2),114-115.