ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกสถานที่ท่องเที่ยวที่พักโฮมสเตย์ในเขตอำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
พฤติกรรม, การตัดสินใจ, การบริการบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยทางการตลาดบริการในการตัดสินใจเลือกสถานที่ท่องเที่ยวที่พักโฮมสเตย์ ในเขตอำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสถานที่ท่องเที่ยวที่พักโฮมสเตย์ในเขตอำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research Methodology) ประชากรกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่ตัดสินใจเลือกสถานที่ท่องเที่ยว ที่พักโฮมสเตย์ในเขตอำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น จำนวน 244 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เลือกตัวอย่างแบบโควตา (Quota sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ซึ่งประกอบด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้สถิติเชิงอนุมานทดสอบ สถิติt -test และ F-test (One-way ANOVA) ตามวิธีของ Least-Significant Different (LSD)
ผลการวิจัยพบว่า
- ปัจจัยการตลาดบริการในการตัดสินใจเลือกสถานที่ท่องเที่ยวที่พักโฮมสเตย์ในเขตอำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านผลิตภัณฑ์ (Product) รองลงมาคือ ด้านราคา (Price) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำมากที่สุดคือ ด้านการส่งเสริมการขาย (Promotion) และปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสถานที่ท่องเที่ยวที่พักโฮมสเตย์ในเขตอำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น พบว่า โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านคุณภาพการให้บริการ รองลงมาคือ ด้านการบริการ และการ ตอบรับ และด้านที่ต่ำสุดคือ ด้านการตัดสินใจเลือกสถานที่ท่องเที่ยวที่พักโฮมสเตย์
- ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยทางการตลาดบริการในการตัดสินใจเลือกสถานที่ท่องเที่ยวที่พักโฮมสเตย์ ในเขตอำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น จำแนกตามเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ พบว่า มีความคิดเห็น ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนจำแนกตามสถานภาพ พบว่า มีความคิดเห็นแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2567). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ. เรียกใช้เมื่อ 11 ธันวาคม 2567 จาก https://intelligencecenter.tat.or.th.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2567). รายงานสถานการณ์การท่องเที่ยวจังหวัดขอนแก่น ปี 2567. เรียกใช้เมื่อ 11 ธันวาคม 2567 จาก https://intelligencecenter.tat.or.th.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2561). สถิติสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์
ทัศนีย์ นาคเสนีย์. (2562). รูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางการท่องเที่ยวของวิสาหกิจชุมชนการเกษตรในจังหวัดราชบุรี ด้วยการท่องเที่ยวแบบแบ่งปัน. ใน รายงานการวิจัยสาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.
พิมพ์พิศา จันทร์มณี. (2562). แนวทางการพัฒนาโฮมสเตย์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชนวอแก้ว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง. ใน รายงานการวิจัยสาขาวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว คณะศิลปะศาสตร์และการศึกษา วิทยาลัยอินเตอร์เทค. ลำปาง.
สำนักงานจังหวัดขอนแก่น. (2567). แผนพัฒนาจังหวัดขอนแก่น (พ.ศ. 2566-2570) ฉบับทบทวน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567. เรียกใช้เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2567, จาก https://www.khonkaen.go.th/ khonkaen6/fileDir/vision /20230430-Plan66-70-1.
Vanichbancha, K. (2010). Quantitative Analysis. Bangkok : Faculty of Commerce and Accountancy. Chulalongkorn University.