ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดตาก
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม, โรงเรียนมัธยมศึกษา, ผู้บริหารสถานศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา และ2) ศึกษาแนวทางภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากข้าราชการครู จำนวน 5 โรงเรียน ปีการศึกษา 2567 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด จำนวน 219 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้แบบสัมภาษณ์เก็บข้อมูลจากผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหารสถานศึกษา และข้าราชการครู จำนวน 17 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1)ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับ มาก และ 2) แนวทางภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ผู้บริหารสถานศึกษาควรนำไปเป็นแนวทาง ดังนี้ 2.1) ด้านการมีวิสัยทัศน์การเปลี่ยนแปลง ควรมีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ และเป้าหมายที่ชัดเจน ทันสมัย และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง 2.2) ด้านการสร้างบรรยากาศและวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ควรมีการส่งเสริมเปิดโอกาสให้ครูและบุคลากรมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ ค่านิยม ตลอดจนการจัดโครงสร้างการบริหารของสถานศึกษา 2.3) ด้านการมีส่วนร่วมและทำงานเป็นทีม ควรให้ครูและบุคลากรทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงาน ตั้งแต่ให้ทุกคนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมปรับปรุงแก้ไข 2.4) ด้านการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม ควรเปิดโอกาสให้ครูและบุคลากรมีอิสระด้านความคิดในการวางแผนการปฏิบัติงาน สามารถประยุกต์ใช้วิธีการปฏิบัติงานใหม่ ๆ ที่สร้างสรรค์ มีความสอดคล้องกับงานและบริบทของสถานศึกษา และ5) ด้านการบริหารความเสี่ยง ควรมีการวางแผน วิเคราะห์ กำหนดแนวทางการควบคุม ป้องกัน กำกับ ติดตาม และตรวจสอบอย่างมีระบบ
References
จีระศักดิ์ นามวงษ์. (2563). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ( ศษ.ม.) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ฐิตินันท์ นันทะศรี และ คณะ. (2563). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จังหวัดสกลนคร. 17(79), 11-20.
ณัฐวุฒิ ศรีสนิท. (2562). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของ สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. ใน วิทยานิพนธ์ ค.ม., มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด, ร้อยเอ็ด.
ธีระ รุญเจริญ. (2553). สภาพและปัญหาการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ.
เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2552). ภาวะผู้นำและผู้นำเชิงกลยุทธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร : บริษัท ทริปเพิ้ลกรุ๊ป จำกัด.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). ฉบับปรับปรุงใหม่ กรุงเทพมหานคร: บริษัท สุวีริยาสาส์น จำกัด.
ปวีณา กันถิน. (2560). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนประชารัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5. ใน สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปิยโชติ รอดหลง. (2565). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดชัยนาท. หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการบริหารการศึกษา สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตาก. (2568). ข้อมูลโรงเรียนในสังกัด. เรียกใช้เมื่อ 18 มกราคม 2568 จาก https://bigdata.secondarytak.go.th/tableSchoollevel.php?op=2.11&year.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. กรุงเทพมหานคร : สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2560). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. พิษณุโลก : พิษณุโลกดอทคอม.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อวิรุทธิ์ ผลอนันต์. (2566). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. หลักสูตรปริญญาการศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา.
Horth. (2014). Innovation leadership: How to use innovation to lead effectively, work collaboratively, and drive results. Greensborough, NC: Center for Creative Leadership.
Hunter and Cushenbery, L. (2011). Leading for innovation: Direct and indirect influences. Advances in Developing Human Resources. 13, 248-265.