การพัฒนาความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์โดยใช้กลวิธีเอสคิวพีทูอาร์เอสร่วมกับผังกราฟิกสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ผู้แต่ง

  • กรรณิการ์ จิตรวิชัย มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • กาญจนา วิชญาปกรณ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

การอ่านเชิงวิเคราะห์, กลวิธีเอสคิวพีทูอาร์เอส, ผังกราฟิก

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้กลวิธีเอสคิวพีทูอาร์เอสร่วมกับผังกราฟิก 2) เปรียบเทียบความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ห้อง 2 จำนวน 34 คน โรงเรียนอุทัยวิทยาคม จังหวัดอุทัยธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านเชิงวิเคราะห์โดยใช้กลวิธีเอสคิวพีทูอาร์เอสร่วมกับ        ผังกราฟิก จำนวน 5 แผน แบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์แบบปรนัย       ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรม     การเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน     การทดสอบค่าที

  ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา   ปีที่ 2 หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05     2) คะแนนการทดสอบของนักเรียนหลังสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด  ( = 4.71, S.D. = 0.52)

References

กมลลักษณ์ ทนันไชย. (2567). การพัฒนาความสามารถการอ่านวิเคราะห์วรรณคดี เรื่อง ศิลาจารึกหลักที่ 1 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบอะคิตะร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์พัฒนาหนังสือกรมวิชาการ.

กลุ่มบริหารงานวิชาการ โรงเรียนอุทัยวิทยาคม. (2567). รายชื่อนักเรียนโรงเรียนอุทัยวิทยาคม ปีการศึกษา 2567. โรงเรียนอุทัยวิทยาคม.

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. (2567). รายงานผลการดำเนินงานคัดกรองความสามารถการอ่านและการเขียน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567. โรงเรียนอุทัยวิทยาคม.

จรรยา ทองดี. (2565). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่จัด การเรียนรู้ด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ร่วมกับผังกราฟิก. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทิศนา แขมมณี. (2563). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 24). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนวิทย์ กวินธนเจริญ. (2563). การพัฒนาความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกลวิธี SQP2RS. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณัฏฐกานต์ บุญป้อง. (2565). ผลการใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคแผนผังกราฟิกเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นริศรา ชยธวัช. (2563). การพัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับผังกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นัทธ์ชนัน แก้วดวงใจ. (2567). การส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นเป็นฐานร่วมกับกลวิธี SQP2RS. ใน การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยพะเยา.

พิมพ์พิมล มั่นกุง. (2566). ผลการพัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การสอนการอ่านแบบเน้นมโนทัศน์เป็นฐานร่วมกับการใช้ผังกราฟิก. ใน การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยพะเยา.

ศูนย์ดำเนินงาน PISA แห่งชาติ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2567). ผลการประเมิน PISA 2022 : บทสรุปสำหรับผู้บริหาร. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). เรีกยใช้เมื่อ 15 ตุลาคม 2567 จากhttps://pisathailand. ipst.ac.th/pisa2022-summary-result/.

สิริพงษ์ กาละพงษ์. (2562). ผลการจัดกิจกรรมการสอนอ่านแบบ SQP2RS เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ใน ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานเลขานุการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. เรียกใช้เมื่อ 14 พฤษภาคม 2567 จาก https://www.onec. go.th/ index.php/book/BookView/1540.

อิงฟ้า ทองทรง. (2566). การพัฒนาความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ SQP2RS ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด. ใน การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เอกพงษ์ ใจสมหวัง. (2565). การศึกษาผลสัมฤทธิ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยการสอนอ่านแบบเน้นมโนทัศน์ (CORI) ร่วมกับกลวิธีเอสคิวพีทูอาร์เอส (SQP2RS). ในวิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-06-28