การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่ส่งเสริมการคิดทางเรขาคณิตและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
คำสำคัญ:
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, การคิดทางเรขาคณิตบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่ส่งเสริมการคิดทางเรขาคณิตและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เปรียบเทียบการคิดทางเรขาคณิตและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ กับเกณฑ์
ร้อยละ 70 3) เปรียบเทียบการคิดทางเรขาคณิตและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน
และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา
กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/10 จำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม
เครื่องมือที่ใช้ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การสร้างทางเรขาคณิต ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา 2) แบบทดสอบการคิดทางเรขาคณิต 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์งานเขียน การบรรยายเชิงวิเคราะห์ สถิติทดสอบค่าสถิติที
ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีประสิทธิภาพ 79.85/75.94 สูงกว่าเกณฑ์ 70/70
ที่กำหนด 2) การคิดทางเรขาคณิต มีค่าเฉลี่ย 15.18 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ มีค่าเฉลี่ย 15.20 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) การคิดทางเรขาคณิตและผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) หลังจากเข้าร่วมกิจกรรม
การเรียนรู้ ตามแนวคิดสะเต็มศึกษานักเรียนมีมีความพึงพอใจคะแนนเฉลี่ย 4.42 ซึ่งคะแนนเฉลี่ยที่ได้
อยู่ในเกณฑ์ ตั้งแต่ 3.51–4.50 มีความพึงพอใจอยู่ใน ระดับมาก
References
เจนสมุทร แสงพันธ์ และอัญชลี ตานนท์. (2563). การเรียนรู้วิธีการสอนของนักศึกษาครูคณิตศาสตร์ ในการพัฒนาการคิดทางเรขาคณิตของนักเรียนในชั้นเรียนที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 40(1), 138-154.
ชัชวาล อ่อนเกษ และนวพล นนทภา. (2565). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชฏัชมหาสารคาม.
บดีศร อนุชาติ และรามนรี นนทภา. (2566). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือร่วมกับโปรแกรม GeoGebra ที่ส่งเสริมการคิดเชิงพีชคณิตและระดับการคิดทางเรขาคณิต. วารสารสหวิชาการวิจัยและวิชาการ, 3(5), 131-134.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ปรัชญา กุยแก้วพะเนา และนวพล นนทภา. (2565). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับแนวคิดสะเต็มศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชฏัชมหาสารคาม.
เพียงขวัญ แสนมณี และนวพล นนทภา. (2563). การศึกษาสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานตามแนวคิดสะเต็มศึกษา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย.ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชฏัชมหาสารคาม.
ศุภชัย สุนทรชัย. (2024). การศึกษาระดับความคิดทางเรขาคณิตตามแนวคิดของแวนฮีลี เรื่องรูปหลายเหลี่ยมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6: A study of geometric thinking levels about polygons based on the Van Hiele model for 6th grade students. เรียกใช้เมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2568 จาก https://ph02.tcithaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/253466.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560). (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
สิริพร ทิพย์คง. (2532). แวนฮีดี โมเคล: ลำดับขั้นตอนการเรียนรู้เรขาคณิต. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 5(3), 91-98.
Seah, R., Horne, M., and Berenger, A. (2016). High school students' knowledge of a square as basis for developing a geometric learning progression. Opening up mathematics education research (Proceedings of the 39th annual conference of the Mathematics Education Research Group of Australasia). Adelaide: MERGA.
Trimurtini, W., Waluya, S. B., Sukestiyarno, Y. L., & Kharisudin, I. (2022). A systematic review on geometric thinking: A review research between 2017-2021. European Journal of Educational Research, 11(3), 1535-1552.
Mehalik, M. M., Doppelt, Y., & Schunn, C. D. (2005). Engagement and Achievements: A Case Study of Design-Based Learning in a Science Context. National Association of Research in Science Teaching (NARST), Dallas, TX. OECD. (2008). Lifelong Learning. OECD Publications.