ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ผู้แต่ง

  • ภีมพัฒน์ นามโยธา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • นวพล นนทภา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์, การรับรู้ความสามารถของตนเองในการเรียนคณิตศาสตร์, ความตั้งใจเรียนวิชาคณิตศาสตร์, การกำกับตนเองในการเรียนคณิตศาสตร์, เจตคติทางคณิตศาสตร์, พฤติกรรมการสอนของครู

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์สมรรถนะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสารคามพิทยาคม ปีการศึกษา 2567 จำนวน 280 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ 1) แบบทดสอบสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ 2) แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ 3) แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเองในการเรียนคณิตศาสตร์ 4) แบบสอบถามความตั้งใจเรียนวิชาคณิตศาสตร์ 5) แบบวัดการกำกับตนเองในการเรียนคณิตศาสตร์ 6) แบบวัดเจตคติทางคณิตศาสตร์ 7) แบบวัดพฤติกรรมการสอนของครู สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงซ้อนแบบสเต็ปไวส์

ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประกอบด้วย พฤติกรรมการสอนของครู เจตคติทางคณิตศาสตร์ การกำกับตนเองในการเรียนคณิตศาสตร์ ความตั้งใจเรียนวิชาคณิตศาสตร์ การรับรู้ความสามารถของตนเองในการเรียนคณิตศาสตร์ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ และมีความสัมพันธ์กับสมรรถนะทางคณิตศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญ .05  โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .854, .892, .860, .904, .875, .881 และ 2) สมการพยากรณ์สมรรถนะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงซ้อนแบบสเต็ปไวส์ พบว่าตัวแปรทั้ง 6 ตัวสามารถพยากรณ์สมรรถนะทางคณิตศาสตร์และร่วมกันพยากรณ์สมรรถนะทางคณิตศาสตร์  ที่ร้อยละ 88.3 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสามารถนำค่าที่ได้มาเขียนเป็นสมการพยากรณ์

References

กิติศักดิ์ ดีพื้น. (2561). สมรรถนะทางคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับนโยบายประเทศไทย 4.0 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. ใน วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ฐิติพร ลินิฐฎา. (2547). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาและผลสัมฤทธิ์ทางการเปรียบเทียบคณิตศาสตร์ ของนิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 1 โครงการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับปริญญาตรี (หลักสูตร 5 ปี) สาขาคณิตศาสตร์.ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศรีนวล วรรณสุธี. (2536). รูปแบบขององค์ประกอบที่ส่งผลต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพิษณุโลก.ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โครงการ PISA ประเทศไทย. (2557). ตัวอย่างการประเมินผลนานาชาติ PISA คณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

อัมพร ม้าคนอง. (2556). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์: การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Flanders, Ned. (1970). Analyzing Teacher Behavior. Philippines: Addison-Wesley.

Hermans, J.M. (1970). A Questionnaire Measure of Achievement Motivation. Journal of Applied Psychology, 54, 353-363.

Moors, Rudolf H. and Moor, Bernice S. (1978). Classroom Social Climate and Student Absences and Grades. Journal of Educational Psychology,70(2),263-269.

Pajares, F., and Miller, M. D. (1994). Role of Self-efficacy and self-Concept beliefs in mathematical problem solving: a path analysis. Journal of Educational Psychology, 86 (2), 193-203.

Zimmerman, B. J. (1994). Dimensions of academic self-regulation: A conceptual framework for education. In D. H. Schunk and B. J. Zimmerman (Eds.), Self-regulation of leraning and performance: Isue and educational applications (pp. 3-21). New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-06-28