การพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ DR-TA ร่วมกับวรรณกรรมท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • ธิติวรรณ อินทพงษ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • กฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

วิธีการสอนอ่านแบบ DR-TA, วรรณกรรมท้องถิ่น, ความสามารถการอ่านจับใจความ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาวิธีการสอนอ่านแบบ DR-TA ร่วมกับวรรณกรรมท้องถิ่นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ DR-TA ร่วมกับวรรณกรรมท้องถิ่น และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ DR-TA ร่วมกับวรรณกรรมท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/3 โรงเรียนบ้านพรานกระต่าย ปีการศึกษา 2567 จำนวน 24 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความ ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ DR-TA ร่วมกับวรรณกรรมท้องถิ่น 2) แบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านจับใจความ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ DR-TA ร่วมกับวรรณกรรมท้องถิ่น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

ผลการวิจัยพบว่า 1) วิธีการสอนอ่านแบบ DR-TA ร่วมกับวรรณกรรมท้องถิ่นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ( = 4.79, S.D. = 0.05)          2) ความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ DR-TA ร่วมกับวรรณกรรมท้องถิ่น สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียน                    ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ DR-TA ร่วมกับวรรณกรรมท้องถิ่นในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.76, S.D. = 0.29)

References

กรมวิชาการ. (2541). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

จิรวัฒน์ เพชรรัตน์. (2559). การอ่านเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.

ชนาธิป เสือขำ. (2564). การพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความภาษาไทยด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดีอาร์ ทีเอ (Directed Reading - Thinking Activity) นักเรียนชั้นมธยมศึกษาปีที่ 3. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาธุรกิจบัณฑิตย์.

ณิชาพัฒณ์ ไชยเสนบดินทร์. (2564). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความสำหรับนักเรียนในเขตพื้นที่อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ปกรณ์ ประจัญบาน. (2552). สถิติขั้นสูงสำหรับการวิจัยและประเมิน (Advanced Statistics For Research and Evaluation). (พิมพ์ครั้งที่ 4). พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์.

ปกรณ์ ประจัญบาน. (2552). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์.

ปรียา หิรัญประดิษฐ์และสมเกียรติ วัฒนาพงษากุล. (2555). หน่วยที่ 10 วรรณคดีท้องถิ่น. เอกสารการสอนชุดวิชา วรรณคดีไทย : Thai literature 12306 หน่วยที่ 8-15 สาขาวิชาศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

มะลิวัลย์ อ่วมน้อย. (2562). การพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความภาษาไทย โดยใช้เทคนิค SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

โรงเรียนบ้านพรานกระต่าย. (2566). รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาโรงเรียนบ้านพรานกระต่าย. กำแพงเพชร.

วรรณธิมา ศรีรัตนพันธ์. (2561). ผลการใช้วิธีสอนอ่านแบบ DRTA ร่วมกับนิทานพื้นบ้านจังหวัดตรัง ที่มีต่อความสามารถในการอ่านจับใจความ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 กลุ่มโรงเรียนนาโยงสัมพันธ์ จังหวัดตรัง. ใน วิทยานิพนมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สมจิต จันทร์ฉาย. (2557). การออกแบบพัฒนาการเรียนการสอน : ตำราประกอบการสอนวิชา 1127102 การออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. นครปฐม : เพชรเกษมพริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด.

เอกลักษณ์ เทพวิจิตร. (2558). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ DR-TA (Directed Reading – Thinking Activity). ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-06-28