การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้การจัดการเรียนรู้ รูปแบบสมองเป็นฐาน (Brain base learning) ร่วมกับบอร์ดเกม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้แต่ง

  • เนตรกมล ศรีสุธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • อ้อมธจิต แป้นศรี มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

ทักษะการคิดวิเคราะห์ , การจัดการเรียนรู้รูปแบบสมองเป็นฐาน (Brain base learning) , บอร์ดเกม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบสมองเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยการจัดการเรียนรู้รูปแบบสมองเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกม 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบสมองเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกม โดยเป็นงานวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านน้ำชุน จำนวน 15 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2 ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จากนักเรียนจำนวนทั้งหมด 11 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบสมองเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ผลการพิจารณาความเหมาะสมของแผนการจัดการจัดการเรียนรู้การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบสมองเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน  มีความเหมาะสมระดับเหมาะสมมากที่สุด 2) ผลการเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยการจัดการเรียนรู้รูปแบบสมองเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกมพบว่า คะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนสอบก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบสมองเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกม พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้รูปแบบสมองเป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.52 , S.D. = 0.23)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชฎายุ วงค์ชัย. (2566). แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบปรับเหมาะร่วมกับการใช้บอร์ดเกม เพื่อพัฒนาความก้าวหน้าในการเรียนรู้เรื่อง สิ่งมีชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. ใน วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ชนาธิป พรกุล. (2554). การสอน กระบวนการคิด ทฤษฎีและการนำไปใช้. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2553). เทคนิคการใช้คำถามพัฒนาการคิด. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี : สหมิตร.

ทิศนา แขมมณี. (2564). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปกรณ์ ประจัญบาน. (2552). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิษณุโลก : รัตนสุวรรณการพิมพ์.

ปุณยาพร สอนศรี. (2564). การพัฒนาความสามารถด้านการเขียนสะกดคำโดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน (Brain Based Learning) ร่วมกับ VARK Model ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. ใน วิทยานิพนธ์ กศ.ม., มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

นิิฏฐิตา แจ่มกระจ่าง. (2563). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์จากวรรณกรรมเยาวชนเรื่อง ชีวิตมหัศจรรย์ของออกัสต์ โดยใช้ทฤษฎีของมาร์ซาโนร่วมกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ใน วิทยานิพนธ์กศ.ม., มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

พัชรี นาคผง. (2562). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชันมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค STAD. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พิมพ์พิสุทธิ์ ขันทะสีมา. (2565). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์วรรณคดี เรื่องพระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ โดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน ร่วมกับแบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ใน วิทยานิพนธ์ กศ.ม., มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

พรพรรณ บุญเนตร. (2561). การพัฒนากิจกรรมการจัดประสบการณ์โดยใช้สมอเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ กศ.ม., มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ภริตา การะภาพ. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning : BBL) ร่วมกับการใช้สื่อโมชันกราฟิกเพื่อส่งเสริม ความสามารถในการอ่านสะกดคำของนักเรียนชันประถมศึกษาปีที่ 2. ใน ปริญญาศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รพิสา กันสุข. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้บอร์ดเกม เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ใน วิทยานิพนธ์กศ.ม., มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วรรณวลี เจนเจนประเสริฐ. (2565). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์ เป็นฐานร่วมกับบอร์ดเกมเพื่อส่งเสริมจิตสํานึกในการจัดการขยะเป็นศูนย์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาตอนต้น. ใน ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิทย์ มูลคำ. (2547). กลยุทธการสอนอ่านคิดวิเคราะห์. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานทดสอบการศึกษา.

สุวัฒน์ วิวัฒนานนท์. (2554). ทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และการเขียน. กรุงเทพมหานคร : สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2. (2566). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน. เรียกใช้เมื่อ 13 พฤศจิกายน 2566, จาก https://www.phetchabun2.go.th.

อาภา วรรณฉวี. (2565). การคิดวิเคราะห์. เรียกใช้เมื่อ 22 เมษายน 2568, จาก https://bsru.net.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-06-28