ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการดำเนินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดหนองคาย
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์, สถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุขบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับประสิทธิผลการดำเนินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติด และอบายมุข และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการดำเนินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในจังหวัดหนองคาย และกลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 และ เขต 2 จำนวน 262 คน โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยแบบสอบถามปัจจัยภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา มีความเชื่อมั่น เท่ากับ .982 และประสิทธิผลการดำเนินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข มีความเชื่อมั่น เท่ากับ .982 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดหนองคายโดยรวม อยู่ในระดับมาก 2) ประสิทธิผลการดำเนินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดหนองคายโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการดำเนินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดหนองคายมีความสัมพันธ์กันทางบวก ระดับปานกลาง
References
กิตติ์กาญจน์ ปฏิพันธ์. (2555). โมเดลโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา. ในวิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาบริหารการศึกษา: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
จุฑามาส ซุ่นห้วน. (2562). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการจัดสภาพ แวดล้อมในสถานศึกษา ตามความเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต: สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
ทวีภรณ์ วรชิน. (2559). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. ในวิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ณณัฐ ช่วยงาน. (2565). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2. ในวิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ณรงค์ หนูสอนและคณะ. (2566). ปรากฏการณ์เชิงสาเหตุและปัจจัยทำนายการใช้ยาบ้าและไอซ์ ในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย.วารสารสำนักงาน ป.ป.ส., 39(2), 73-74.
นิรินดา เศรษฐแสงศรี. (2563). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาใศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาสน์.
ภาสุณีย์ คำพันธ์. (2566). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เพ็ญนภา ศรีภูธร. (2562). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง. ในวิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
โรงเรียนชุมชุนบ้านพนพระ. (2567).นวัตกรรมหรือผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice) โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนชุมชนบ้านพบพระ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2. เรียกใช้เมื่อ 20 มกราคม 2568,จาก http://www.chpschool. ac.th.
โรงเรียนบัวหลวงวิทยาคม. (2566).สถานศึกษาปลอดจากปัญหายาเสพติด อบายมุขและเข้าใจทักษะชีวิต ตามแนวทาง โรงเรียนบัวหลวงวิทยาคม BL.S.SMART School Model. เรียกใช้เมื่อ 20 มกราคม 2568, จาก https://sites.google.com/bual.ac.th.
มลฤดี เพ็งสง่าและมัทนา วังถนอมศักดิ์. (2566).การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล.วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 24(2), 162.
ยุภาดี ปณะราช. (2566). สถิติเพื่อการวิจัยทางการศึกษา. กรงุเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิชช์ เกษมทรัพย์ (บรรณาธิการ). (2567). ประสิทธิผลการบริหารจัดการบุคลากรของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารก้าวทันวิจัยกับ ศจย., 16(2), 6-7.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1. (2567). แผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567. เรียกใช้เมื่อ 20 สิงหาคม 2567, จาก http://www.nkedu1.go.th.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2. (2567). แผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 (ฉบับปรับปรุง). เรียกใช้เมื่อ 20 สิงหาคม 2567, จาก https:// www.smart. nongkhai2.go.th.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. เรียกใช้เมื่อ 20 สิงหาคม 2567, จาก https:// www.moe.go.th.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2564). คู่มือดำเนินการโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2564. กรุงเทพมหานคร: กองส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการศึกษาในภูมิภาค.
อรชร กิตติชนม์ธวัช. (2558). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนประถมศึกษา. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.