สภาพปัจจุบัน ปัญหา และอุปสรรคของการวางแผนทางการเงินของ กลุ่มวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • สุกัญญา ศิริโท มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • เกียรติชัย วีระญาณนนท์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • ณัฐภัสสร ธนาบวรพาณิชย์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • รภัสศา รวงอ่อนนาม มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

คำสำคัญ:

การวางแผนทางการเงิน, ปัญหาทางการเงิน, อุปสรรคการวางแผนการเงิน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ของการวางแผนทางการเงิน และศึกษาการวางแผนทางการเงินของกลุ่มวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ แต่ได้นำเสนอเฉพาะด้านการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือในการวิจัยคือ วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง จากผู้เชี่ยวชาญการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลประสบการณ์อย่างน้อย 5 ปี จำนวน 17 คน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิควิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาปัจจุบัน ปัญหาและอุปสรรค ของวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร เช่น รายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่สูง ความกดดันจากค่าครองชีพในเมืองใหญ่ และขาดการวางแผนที่ชัดเจนในการออมและการลงทุน ซึ่งส่งผลให้การวางแผนทางการเงินมีอุปสรรคและข้อจำกัดที่สำคัญ และ 2) ผลการวิเคราะห์การวางแผนทางการเงินระยะสั้น ระยะยาว เช่น การควบคุมการใช้จ่าย การออมและเลือกการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลายหลาย การจัดการหนี้อย่างมีระบบ และจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสมกับสถานการณ์ทางการเงินของแต่ละบุคคล การวางแผนภาษี การวางแผนการเกษียณ จะช่วยให้ความมั่นคงทางการเงินระยะยาวบรรลุเป้าหมายทางการเงิน

References

กิติชัย เตชะงามเลิศ. (2567). พฤติกรรมใช้ออมคนรุ่นใหม่ยุค 4.0. เรียกใช้เมื่อ 7 เมษายน 2568 กรุงเพทธุรกิจ จาก https://www.bangkokbiznews.com.

ณัฐฐาวรี ศรีวัฒนไชย. (2563). การวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลเพื่อเกษียณอายุของ พนักงาน บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด. คณะบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2558). การวางแผนการเงิน. เรียกใช้เมื่อ 8 มีนาคม 2567, จาก https://www.set.or.th/education/th/start/start.html.

ธัญวรัตน์ สุวรรณะ. (2564). การเตรียมความพร้อมทางการเงินเพื่อวัยเกษียณของแรงงานนอกระบบในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทาง มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4 (2), หน้า 58-72.

นราวัลลภ์ ศุภวงศ์. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการวางแผนทางการเงินในคนวัยทำงาน การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม.

รัชนีกร วงศ์จันทร์. (2553). การบริหารการเงินส่วนบุคคล. กรุงเทพมหานคร: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

ศักรินทร์ สุวรรณแผ่นผา. (2565). แนวทางการวางแผนการจัดการทางการเงินส่วนบุคคลเพื่อความมั่นคงทางการเงินของ Generation X ในกรุงเทพมหานคร หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาการจัดการ. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2553). พื้นฐานการ วางแผนการเงิน. เรียกใช้เมื่อ 10 มิถุนายน 2566, จาก https://media.set.or.th/set/Documents/2022/Jul/50.pdf.

สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร์. (2567). ประชากรรายอายุแยกตามจำนวนประชากรที่มีชื่อยู่ในทะเบียนบ้าน มีสัญชาติไทย พื้นที่ จังหวัดกรุงเทพมหานคร. เรียกใช้เมื่อ 19 พฤศจิกายน 2567, จากhttps://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/s.

สุรัชญชนา สินสมุทร. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการหนี้ของพนักงานและลูกจ้างของการเคหะแห่งชาติ. สาขาวิชาการจัดการการเงินและการธนาคาร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุธิดา กาญจนกันติกุล. (2563). คุณภาพชีวิต-สังคม พฤติกรรมการใช้เงินคนรุ่นใหม่. เรียกใช้เมื่อ 7 เมษายน 2568, จาก https://www.bangkokbiznews.com.

Browning, L. (2019). Financial planning on quality of life in retirement. Journal of Financial Planning, 25(3), 45-56.

Smith, J., & Johnson, E. (2021). Financial Literacy and Personal Financial Planning Behavior : Insights from a Systematic Literature Review. Journal of Financial Services Marketing, 25(2), 105-123.

Stebbins, R. (2018). Personal financial planning and its impact on quality of life. Journal of Financial Planning.

Kumar, A. (2020). A study on awareness of personal financial planning among households. International Journal of Economics and Management Research.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-06-28